top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg

บทเรียนสอน(ใจ)ไทย - Quantum IT 2020’s publications, patents, and prototypes


(สรุปความก้าวหน้าโลกไอทีควอนตัม พ.ศ.๒๕๖๓ งานวิจัย สิทธิบัตรและต้นแบบ)

วงการไอทีควอนตัมเมื่อมองผ่านดัชนีข้อมูลผลงานวิชาการตีพิมพ์ (publication) สิทธิบัตร (patent) และต้นแบบ (prototype) ประจำปีพ.ศ.๒๕๖๓ แล้วยืนยันได้ว่า “เช่นเดิมเหมือนปีก่อน” มาติดตามสรุปเพื่อรู้เท่าทันโลกกันดังต่อไปนี้ !


๑) สาขาการคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing) - “ดัชนีสู่อุตสาหกรรมจริง”

อุตสาหกรรมสาขานี้เกิดจริงเริ่มแล้วโดยสหรัฐอเมริกาคือผู้นำในทุกมิติ (มิใช่มิติข่าวสร้างภาพลักษณ์งานคำนวณหมื่นปีเหลือไม่กี่นาทีของกูเกิลปี พ.ศ.๒๕๖๒) เป็นผลจากงานที่ภาคอุตสาหกรรมออกตัวนำภาครัฐฯ ผลจากงานวิจัยที่สนองจึงมากมายกว่าแน่นกว่าที่อื่นใดอีกทั้งสิทธิบัตรเป็นอีกหนึ่งดัชนีที่สอดคล้องเช่นกัน ดังนี้


ฐานข้อมูล Scopus (2020): (quantum computing พบ 20657 documents, 6281 patents)

โดยสถิติภาพรวมสูงขึ้นอย่างมากจากปีก่อนหน้า สหรัฐอเมริกานำโด่งทิ้งอันดับสองคือประเทศจีนไปเกินครึ่ง โดยมีอินเดียและญี่ปุ่นคืออีกสองประเทศจากเอเชียที่เข้ามาอยู่สถิติสิบอันดับแรกร่วมกับโลกตะวันตก


ฐานข้อมูล Derwent Innovation (patent)

การสืบค้น dwpi index พบสอดคล้องกันว่า ผู้เล่นจากสหรัฐอเมริกามีผลรวมนำในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ทั้ง IBM Intel Microsoft หรือ Google ส่วนที่น่าสนใจในปีนี้คือเกิดการรวมกลุ่มดูแลทรัพย์สินทางปัญญาในสาขานี้จากประเทศจีน ทำให้สถิติของบริษัทหน้าใหม่ปรากฏตัวเลขรวมสูงอย่างมีนัยสำคัญแสดงตนทั้ง Ruban Quantum Tech Co.Ltd. (Shaoxing, Zhejiang, China) และ Nanjing Reborn Quantum ส่วนสาขาที่เกี่ยวข้องได้ปรากฏสอดคล้องโดยทั่วไปเช่นกันกับสาขาหลักทั้ง Nerual network, Deep learning และ Artificial Intelligence



ทั้งนี้ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ คือประเทศจากเอเชียที่มีรายชื่อลงทุนกับงานด้านสิทธิบัตรในอันดับสิบแรก ต่างจากกรณีผลงานตีพิมพ์ที่จะมีประเทศอินเดียอยู่ในอันดับสำคัญด้วย


อนึ่ง ประเทศจีนนั้นยังคงมีเฉพาะ"จำนวน"ที่วิ่งไล่ตามสหรัฐฯแต่ยังคงมิใช่ดัชนีสะท้อนความก้าวหน้าด้านนี้ได้มากนัก อีกทั้งยังตามหลังกลุ่มยุโรปแถวถัดมาห่างไกลมาก ผลงานที่เด่นเฉพาะการตีพิมพ์ผลวิจัยยังคงเป็นเพียง "ดัชนีคลุมเครือ" ต่างจากสหรัฐฯที่ครอบคลุมปัจจัยสำคัญหมดทั้ง “ผลงานวิจัยตีพิมพ์ อุตสาหกรรมกับการลงทุน สิทธิบัตรคุ้มครอง ต้นแบบจริงและงานวิจัยสนับสนุน” ... โดยปัจจัยทั้งหมดเกิดขึ้นโดยสอดคล้องกัน


ต้นแบบ

เครื่องคำนวณเชิงควอนตัมมีการโฆษณาชวนเชื่อของการเพิ่มจำนวนคิวบิต (Qubit) ไว้มาก แต่ปีพ.ศ.๒๕๖๓ ไม่เป็นไปตามที่ราคาคุยของทุกสำนัก แม้มีข่าวจากทั้ง Amazon.Com และ HoneyWell แต่ยังเป็นเพียงข่าวที่ไม่มีการเผยโฉมต้นแบบสาธารณะแต่อย่างใด จึงเป็นปีแห่งความเงียบเหงาของพัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์


๒) สาขาการสื่อสารหรือรหัสลับเชิงควอนตัม (Quantum cryptography) - “ดัชนีภาพลักษณ์"


ฐานข้อมูล Scopus (2020): (quantum cryptography พบ 12378 documents, 637 patents)



สาขานี้ประเทศจีนนำโด่งกับภาพลักษณ์ลักษณะที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้ง "อุตสาหกรรมไม่มีจริง การลงทุนมากจากภาครัฐเป็นหลัก สิทธิบัตรมีจำนวนน้อยสวนทางกับจำนวนการตีพิมพ์ผลงานของนักวิชาการที่สูงมากห่างจากจำนวนสิทธิบัตรร่วมยี่สิบเท่า (ขณะที่สาขาอุตสาหกรรมเกิดจริง quantum computing มีจำนวน 20657 documents, 6281 patents ห่างกันเพียงสามเท่าเศษ) ซึ่งแน่นอนว่างานวิขาการเป็นหลักยังคงมาจากประเทศจีนแหล่งเดิมเดียวกันเช่นทุกปีคือมหาวิทยาลัย USTC (University of Science and Technology of China สามกลุ่มวิจัยหลักและเจ้าของดาวเทียมรวมถึงโครงข่ายสาธิตรหัสลับควอนตัมปักกิ่ง - เซี่ยงไฮ้)” ข้อมูลทั้งหมดจึงสอดคล้องกับทุกภาคส่วน ยืนยันการเป็นสาขาที่เติบโตสูงมากด้านการสร้างกำลังคนและวิทยาการ แต่มิได้สร้างอุตสาหกรรมจริง ดังนั้น ยังคงเป็นผลงานใช้บ่งชี้หรือดัชนีด้านภาพลักษณ์หรือการแสดงแสนยานุภาพเป็นหลักต่อไป และเป็นผลจากงานที่ภาครัฐฯ (จีน) สร้างภาคอุตสาหกรรมจำแลงขึ้นมารองรับกับภาพลักษณ์เหล่านั้นเป็นหลัก


ฐานข้อมูล Derwent Innovation (patent)

การสืบค้น dwpi index ส่วนที่น่าสนใจในปีนี้คือเกิดการรวมกลุ่มดูแลทรัพย์สินทางปัญญาในสาขานี้จากประเทศจีน ทำให้สถิติของบริษัทหน้าใหม่ปรากฏตัวเลขรวมสูงอย่างมีนัยสำคัญแสดงตนคือ Ruban Quantum Tech Co.Ltd. (Shaoxing, Zhejiang, China) ส่วนสาขาที่เกี่ยวข้องได้ปรากฏไม่มีความสอดคล้องใด ๆ กับการประยุกต์ได้จริงกับสาขาหลักโดยที่ปรากฏเด่นชัดสุดในลำดับต้น ๆ มีทั้ง blockchain, network หรือ cloud ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการต่อท่อร้อยสาย (evesdropping) แต่อย่างใด


ต้นแบบ

ความพยายามของหน่วยงานในประเทศจีนเพื่อการโฆษณาการเชื่อมโยงระบบรหัสลับควอนตัมภาคพื้นดินกับดาวเทียมควอนตัมวงโคจรต่ำที่มีอยู่เดิม เป็นพัฒนาการหนึ่งเดียวที่โลกการสื่อสารเชิงควอนตัมมีกิจกรรมในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของเจ้าของบริษัทรหัสลับควอนตัมชื่อดังของ iDQuantique ที่นำเสนอในงานประชุมใหญ่ของ IEEE Thailand section โดยยอมรับกลาย ๆ ว่าการประยุกต์นั้นมีข้อจำกัดอย่างยิ่ง บ่งชี้ได้ด้วยอีกว่าไม่มีการใช้งานระดับอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายดังที่มีข่าวไปทั่วโลกแต่อย่างใด ส่วนการประยุกต์ชิปจำนวนสุ่มเชิงควอนตัม (quantum random generator) ในโทรศัพท์ 5G จากเกาหลีใต้และเครื่องสัญชาติเวียดนามนั้น เป็นความสำเร็จด้านการใช้คำ “ควอนตัม” เพื่อสร้างภาพลักษณ์เป็นหลัก โลกไอทีในปีเดียวกันนี้มิได้มีความก้าวหน้าด้านต้นแบบแต่อย่างใด หากเป็นการตอกย้ำการโฆษณาเกินจริง (hype) ของวงการมาโดยตลอด ซึ่งสอดรับกับข้อมูลด้านงานวิจัยและสิทธิบัตรเช่นกัน


…….

บทเรียนสอนใจ เพื่อเมืองไทย

ผลงานตีพิมพ์

ยังไม่มีโอกาสติดอันดับโลกใด แต่หากพิจารณาจากความก้าวหน้าสองปีที่ผ่านมาของการรวมกลุ่มนักวิจัยไทยด้านที่เกี่ยวข้อง จำนวนผลงานควรได้ทยอยเพิ่มเติมขึ้นในอัตราที่ก้าวหน้า กระนั้น มีปัจจัยบ่งชี้ที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งอันมาพร้อมกับจำนวนผลงานตีพิมพ์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นของประเทศ นั่นคือ ในกลุ่มความร่วมมือของนักวิจัยรุ่นใหม่ดังกล่าวได้มีอดีตนักวิจัยประวัติทิ้งงานจนถึงกลุ่มนั่งเทียน (fabrication) แวดล้อมเข้าร่วมอยู่ด้วย ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่ผลงานด้านลบ (ดังที่เคยเกิดขึ้นและบันทึกไว้ใน ควอนตัมไทยไฉนเป็น“ตัว” และ ภูมิคุ้มกันวิชาการฉ้อฉล (Academic Dishonesty - Fraud) ) มีโอกาสแฝงตัวในว่าที่สถิติผลงานตีพิมพ์ของประเทศด้วยอีกเช่นกัน ซึ่ง Q-Thai Forum ได้ทยอยส่งสัญญาณให้ทราบมาเป็นระยะแล้ว เพื่อสังคมได้ร่วมขัดเกลาเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก


สิทธิบัตร

กลยุทธของการยื่นจดสิทธิบัตรภาพรวมในอดีตของหน่วยงานด้าน วท. ในอดีต (เช่นสรุป ทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีรหัสลับเชิงควอนตัม (๒๕๕๙)) ได้ส่งผลข้ามสองทศวรรษที่เริ่มต้นจริงจังกันมาอย่างหลากหลาย มีที่ปรากฏชัดมุมหนึ่งพึงได้ทบทวนคือ คำขอสาขาวิทยาการไอทีควอนตัมที่ยื่นจดจำนวนมากยังคงตกค้างมาถึงครึ่งอายุหรือสิบปีแล้วโดยที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคำขอจนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๓ อันบ่งบอกถึงความล้มเหลวทั้งด้าน “ปริมาณ” (เช่น เพื่อใช้กลยุทธหมากล้อม สิทธิบัตรน้ำหนักหน่อยแต่จำนวนมากไปล้อมสิทธิบัตรการคิดค้นหลักในสาขา ดังกรณีของประเทศเกาหลีใต้ดำเนินการล้อมเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA) ของประเทศตะวันตกที่ก้าวหน้ากว่าในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จนนำไปสู่การแลกเปลี่ยนหรือตกลงทางการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจต่อรองทางเทคโนโลยีจนนำไปสู่ความก้าวหน้าในสาขาดังกล่าวของประเทศในเวทีโลกได้ - เช่นแผนที่ themescape ตัวอย่าง) และ “คุณภาพ” ซึ่งก็ยังคงต้องผ่านขั้นตอนสืบค้น การประกาศ โดยกว่าไปถึงขั้นตอนที่จะเกิดประโยชน์ได้จริงยังไม่สามารถคาดหวังได้ หากเวลาคุ้มครองกลับเหลือไม่มากจากอายุยี่สิบปีของสิทธิบัตร จึงประเมินได้ว่า สองทศวรรษที่ผ่านมาสิทธิบัตรไอทีควอนตัมไทยโดยภาพรวมนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สำหรับอนาคตนั้นยังต้องประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกมากไม่สามารถคาดการณ์หรือประเมินได้


โดยสรุปข้อมูล PPP ที่ใช้มองโลกไอทีควอนตัมผ่านผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ สิทธิบัตร และต้นแบบที่เกิดขึ้นในรอบปีกับมิติของข้อมูลมุมต่าง ๆ ยังคงยืนยันผลเช่นหลายปีก่อนหน้ามาอย่างต่อเนื่อง การคำนวณเชิงควอนตัมมีศักยภาพเกิดอุตสาหกรรมได้จริง ส่วนวิทยาการรหัสควอนตัม ยังคงเป็นฝันของนักวิจัยที่คิดแทนวิศวกรและผู้ใช้งานจริงต่อไป แม้เกิดประโยชน์กับงานวิจัยในประเทศจีนเพื่อการสร้างบุคลากรและวิทยาการเป็นหลัก หากทำให้สังคมทั่วไปเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนจึงมีความเสี่ยงสูงมากในอนาคตต่อการยอมรับในระยะยาว และสำหรับประเทศไทย ยังไม่ปรากฏภาพเชิงบวกแต่อย่างใดผ่านมุมมองของ PPP ร่วมนี้ แต่อาจมีผลลบตามมาได้หากเกิดการทำซ้ำรอยความล้มเหลวในอดีต

……. OQC academy (2021)


เพิ่มเติมวีดีโอประกอบคำบรรยาย (๑๙ มี.ค. ๖๔)



Comments


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page