top of page

                                                  Past Results: งานในอดีต กับบันไดสี่ขั้นสู่การสร้าง ...
"(ร่าง) ศูนย์ทดสอบเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม" (พ.ศ.๒๕๕๙)
Experiences of Thai QKD Testbed
(รวมบันทึก ณ OQC academy (updated: June 23, 2020)

ชุดงานเทคนิคพื้นฐาน
(prototypes)
 

รวมผลภาพรวมด้านซอร์ฟและฮาร์ดแวร์รอบ ๗ ปี ณ OQC ระยะที่ ๑ ประสบการณ์ราคาสูงเพื่อลดการสูญเสียในอนาคต

Thai Quantum Information's Manifesto (2016)

".. จะเป็นผู้ซื้อไอทีควอนตัมอย่างฉลาด"

 

ชุดองค์ความรู้เทคนิค

(Fundamental)

(บันไดขั้นที่ ๑ และ ๒)

 

"สร้างเสาเข็มและฐานบันได"

ความรู้พื้นฐานและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ฐานรากที่วางสะสมให้แข็งแรงต่อเนื่องสู่การเป็นโครงสร้างก้าวบันไดขั้นต่อ ๆ ไป และเป็นฐานในการติดตามความก้าวหน้าของโลกที่เมืองไทยห่างไกลมากเกินครึ่งศตวรรษ เพื่อลดความล้าหลังและเพิ่มโอกาส 

 

 

 

ชุดความรู้สาธารณะ

(Public realization)

(บันไดขั้นที่ ๓)

 

"ป่าล้อมเมือง"

ความเข้าใจภาคสาธารณะต่อวิทยาการแขนงใหม่สู่เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ "ไอทีควอนตัม" ถามตอบ "ควอนตัมคืออะไร ?" และการประยุกต์ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สังคมส่วนใหญ่ได้เข้าถึง ได้ตระหนักถึงศักยภาพ และได้เตรียมพร้อมต่อการมาถึงของเทคโนโลยีเชิงควอนตัม สร้างภุมิคุ้มกันสาธารณะต่อเรื่องหลอกลวง (fraud) และงานวิชาการเทียม (pseudo science) หรือเรื่องพิลึก (absurd) ที่นำคำว่า "ควอนตัม" ไปใช้ ทั้งที่เข้าใจผิด รู้เท่าไม่ถึงการ รวมทั้งการตั้งใจหลอกลวงเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบ

ชุดข้อมูลนโยบาย

((for) Policy maker)

(บันไดขั้นที่ ๔)

 

"ผู้ซื้ออย่างฉลาด"

บันทึกวิจัย การสำรวจเชิงลึกงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา นำมาซึ่งการประกอบร่างกับการติดตามความก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องของโลก สู่ข้อเสนอการจัดสร้าง "ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (พ.ศ.๒๕๕๙)" เพื่อการวางโครงสร้างพื้นฐานกับยุทธศาสตร์และแผนที่นำทางที่เกี่ยวข้องของประเทศ เตรียมความพร้อมสู่อนาคตที่เป็นไปได้จริงโดย ..... "ไม่หลอกตนเอง" !

หมายเหตุ: บันไดสี่ขั้นการสร้างสนามไอทีควอนตัมไทย (testbed) เหล่านี้ มิใช่เป็นหลักกับการผลิตสื่อหรือหนังสือ หากคือการสร้างองค์ประกอบงานสู่การเป็น "ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม"

 

 

(เมื่อจตุปัจจัยหลักทั้งสี่คือ งบประมาณ บุคลากร วิทยาการและนโยบาย สามารถ บังเกิดได้ในเวลาใกล้เคียงกัน โครงการสาธารณะ (testbed) นี้จึงอาจมีศักยภาพที่จะดำเนินการต่อได้ แต่หากโอกาสการจาตุรงค์ของปัจจัยสี่เหล่านั้นน้อยมากก็มิควรดำเนินการซ้ำ แนวทางเดิมอีก อันจะเป็นการสูญเปล่าละลายโอกาสที่มีน้อยในแม่น้ำสายความคาดหวังขนาดใหญ่ซ้ำ เดิมเช่นอดีต หากอนาคตวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมในประเทศไทยจำเป็นต้องวนเวียนอยู่แต่กรณีหลัง ผลในอดีตทุกชิ้นเหล่านี้อย่างน้อยยังคงได้เป็นบันทึกความรู้ระหว่างทางของการศึกษา วิจัยและพัฒนา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ก่อนหน้าได้ และคงมีประโยชน์อื่นอยู่บ้างด้วย เช่น ช่วยป้องกันหรือร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมความรู้วิทยาศาสตร์ไทยต่อเรื่องหลอกลวง (fraud) ต่าง ๆ จากการนำ “ควอนตัม” ไปใช้ผิดทาง รวมทั้งส่งเสริมให้นักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศได้รับการตรวจสอบจาก สังคมและกระตุ้นให้อยู่ในแนวทางเชิงสร้างสรรค์ ห่างไกลจากวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo science) ต่อไปได้ด้วย)

  • Wix Facebook page
bottom of page