
ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
Dinner Talk
(SCOOP) เมืองไทยจะไปดวงจันทร์ | อีกไม่เกิน 7 ปีไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย | The Dinner Talk#2



ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 | บุญรักษา สุนทรธรรม & โมไนย ไกรฤกษ์ |

(HIGHLIGHT) | โมไนย ไกรฤกษ์ | ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 |
The Dinner Talk #2 ...
“ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย”
(***ขอขอบคุณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับการสนับสนุน)
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อเป็นเวทีระดับประเทศสำหรับภาคการศึกษา อุตสาหกรรม นโยบาย และภาคสังคม ในการรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สู่การวางแนวทางการพัฒนาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากับสาขาฟิสิกส์รวมทั้งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายบุคลากรในสาขาวิชาการและวิชาชีพดังกล่าวของทุกภาคส่วน
๓) เพื่อสนับสนุนข้อมูลข้อคิดเห็นแด่ภาคการศึกษาเพื่อการสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
๔) เพื่อสนับสนุนข้อมูลสู่การวางแผนและตัดสินใจแด่ภาคอุตสาหกรรมทั้งด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ มาตรวิทยาและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าและบริษัทด้านผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม งานตรวจวัดและมาตรฐาน และความปลอดภัยสารสนเทศ เป็นต้น
๕) เพื่อสนับสนุนข้อมูลสู่การวางแผนและตัดสินใจแด่ภาคนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษารวมถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๖) เพื่อเป็นเวทีรับฟัง สร้างเครือข่าย ลดช่องว่าง สานต่อกิจกรรม ของบุคลากรที่สนใจของทุกสาขาที่สัมพันธ์รวมถึงตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในบรรยากาศที่เป็นกันเองในยุคสังคมวิถีใหม่ (new normal)
หลักการและเหตุผล
“โดยพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้าก็คือฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรไฟฟ้าก็คือนักฟิสิกส์ประยุกต์ การพัฒนาวิศวกรรมไฟฟ้า ประเทศไทยก็มีหน่วยงานวิจัยหน่วยงานอิสระหลายแห่ง ที่มีลักษณะงานโดยธรรมชาติเป็นงานด้านฟิสิกส์หรือเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยา สถาบันนิวเคลียร์ฯ ... และอื่น ๆ ที่ทำงานวิจัยหรือให้บริการประชาชนเป็นภารกิจ อันหมายถึงว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐาน มีโอกาสที่จะสามารถทำให้ฟิสิกส์ไทยยกระดับขึ้นได้ ด้วยการพัฒนาที่ไปตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นนั้นให้ได้ ดังนั้น จึงต้องกลับมาสร้างนักฟิสิกส์ควบคู่กับวิศวกรไฟฟ้า การที่วิศวกรรมไฟฟ้าจะไปต่อได้อย่างแข็งแรงขึ้นต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือฟิสิกส์ที่แข็งแรงด้วย”
(“การประชุมวิชาการกับพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยวิศวกรรมไฟฟ้าไทย”)
จากผลการสำรวจพัฒนาการ การประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย - ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ (ISBN: 9786163357601) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากในโอกาสครบรอบ ๓๕ ปีของการจัดการประชุมวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้่าของประเทศไทย ได้มีการนำเสนอข้อมูลสรุปที่บ่งชี้ได้ว่า ความร่วมมือระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านฟิสิกส์จนมาถึงด้านการประยุกต์ของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยนั้น ตั้งแต่อดีตมามีการรวมตัวกันน้อย ทั้งด้านการเรียนการสอนการพัฒนาบุคลากรซึ่งได้แยกกันมาตั้งแต่ต้น (ขณะที่หลายแห่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปรากฏมีหลายสถาบันพัฒนาบุคลากรได้รวมสองสาขาเข้าด้วยกัน (School of Physics & Engineering)) ส่วนด้านงานวิจัยและโอกาสการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีของประเทศต่อยอดสู่อุตสาหกรรมได้เองของทั้งสองสาขานี้ก็มีน้อยมาก จึงมีความร่วมมือของบุคลากรทั้งสองสาขาน้อยมากไปตลอดจนถึงภาคอุตสาหกรรมและนโยบายก็เช่นเดียวกัน
โดยรวมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจะใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันโดยสังเกตพบได้ง่ายกว่า มีมิติของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า ปัจจัยการพัฒนาสำคัญทั้งสี่อันได้แก่ “บุคลากร วิทยาการ นโยบายและงบประมาณ” จึงมีโอกาสสูงกว่า ส่วนสาขาฟิสิกส์พื้นฐานเองแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับศาสตร์การประยุกต์อื่น ๆ ต่อไปได้ด้วยนั้น เช่น อุตุนิยมวิทยา การแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นต้น แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาแล้วเป็นสาขาที่ห่างไกลหรือพบเห็นในสังคมได้ยากหรือน้อยกว่า ดังนั้น ปัจจัย “บุคลากร วิทยาการ นโยบายและงบประมาณ” จึงมีโอกาสน้อยกว่าตามเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อพิจ