top of page

Q - Funny Asked Questions:รวมคำถามซ้ำ ๆ กับคำตอบที่ไม่สิ้นสุด (แต่มีจุดหมาย)

แบ่งปันประสบการณ์ที่เนิ่นนาน เช่น ตย. การนำเสนอ การตอบข้อซักถามแด่คณะอนุกรรมการ กรรมการบริหารทุน บอร์ดชุดเล็กและบอร์ดใหญ่ ... ผู้บริหารฯ ผู้ประเมินโครงการ ผู้ติดตามโครงการ ผู้สังเกตการณ์ ผู้ตรวจสอบ ผู้ติดตามผล ผู้หลักผู้ใหญ่ของวงการวิทย์และเทคโนฯไทย ฯลฯ ...

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรรุ่นต่อ ๆ ไป มีโอกาสนำไปปรับใช้ได้โดยเข้าใจสถานภาพแวดล้อมของประเทศไทยในแต่ละช่วงที่ผ่านมา และ ...

 

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แด่ ท่านทั้งหลาย ... ซึ่งกาลนานเทอญ

(updated: Dec 31, 2016)

หากเป็นท่าน จะตอบว่าอย่างไร ?

(2015)

 

(๑๔ ก.พ. ๒๕๕๘)

เนื่องจากโครงการ การสื่อสารปลอดภัยสูงสุดด้วยรหัสลับควอนตัม ฯ ในเบื้องต้น ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะอนุฯกลั่นกรองโครงการและงบประมาณฯ ของ (หน่วยงานให้ทุน) จึงขอเรียนเชิญท่าน เข้าร่วมชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็น ดังนี้

(ก่อนเข้าห้องประชุม)    Q : ทฤษฎีควอนตัม นำไปใช้ในกิจการโทรคมนาคมอย่างไร ?

(ในห้องประชุม)            Q : "ประเทศได้ประโยชน์อะไร ?"

หมายเหตุ : โครงการนี้ผ่าน ได้รับการสนับสนุนและประสบผลด้วยดี ด้วยแนวคำตอบมาตรฐานคือ

                                  A : ๑. ชุดจิ๋วสิบประโยค ๒. ชุดเล็ก ๓. ชุดกลาง ๔.ชุดใหญ่ และ ๕.ชุดใหญ่(มาก ๆ)

                                        รวมถึงชุดจิ๋วนาโนคือ "ถามกูเกิลดูได้" (แต่ก็ยังคงมีคำถามเดิมนี้ต่อ ๆ มา :) )

                                      (แล้วหากเป็นท่าน จะตอบว่าอย่างไร ? ได้โปรดแบ่งปัน

      

"ไม่รู้นะ ... ผมไม่รู้นะ !"
(2009)
 

(คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาทุนวิจัยฯ ด้านความมั่นคงข่าวสาร (information security) ปี พ.ศ. ๒๕๕๒)

Q: "เอ่อ ผมไม่รู้นะ ผมคำนวณเลขไม่เก่ง แค่ที่เห็นว่าทำได้หลักพันบิตต่อวินาที  เอ่อ ผมไม่รู้นะว่าจะเอามาใช้กับโลกเราได้ยังไง อินเทอร์เน็ตเร็วหลักสิบไปร้อยเมกต่อวินาทีแล้ว" ... "จะเอารหัสลับควอนตัมที่ช้าแบบนั้นมาใช้ทำไม ... ผมไม่รู้นะ เอามาใช้ไม่ได้หรอก ผมคำนวณไม่เก่งแต่ลองคิดดูแล้ว ง่าย ๆ"

A: "ขอบคุณครับ" ... "ความเร็วหลักพันที่ว่านั้นคือเสปคสูงสุดของระบบ ซึ่งเครื่องสร้างรหัสลับเพียง 256 บิตเป็นกุญแจก็เข้ารหัสสื่อสารใช้งานได้ทั่วไปแล้ว การทำได้หลักพันนั้นก็มากกว่าที่โลกอินเทอร์เน็ตต้องการสี่ถึงห้าเท่า ซึ่งก็เหลือเฟือครับ" ... "ส่วนความเร็วการสื่อสารอินเทอร์เน็ตจะใช้สายหรือไร้สายระดับใดเมกกะหรือจิกะก็ยังคงเท่าเดิม สื่อสารได้เร็วเหมือนเดิม แต่ปลอดภัยกว่าเดิม"  และ "ความเร็วการสร้างกุญแจรหัสลับ มิใช่ ความเร็วการสื่อสารข้อมูลทั่วไป (คนละเรื่องกัน)"

Q:  ...... ( ! ) .......

ผลลัพธ์ต่อมา: ไม่มีผล กระทั่งคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหมดวาระ ไม่ได้รับการแจ้งจากแหล่งทุน ทราบจากเลขานุการงานทุนวิจัยเพียงว่า "ขอโทษครับสำหรับทุกอย่าง"

 "ผู้บริหารกับข่าวลือ"

(2011, 2015)

 

"ช่องโหว่ของ quantum cryptography (ควอนตัมถูกแฮกได้แล้ว)"

(email ข่าว จากผู้บริหาระดับสูงด้านเทคโนฯ ของประเทศส่งรวมอดีตผู้บริหารจำนวนหนึ่ง)

 

A: คำตอบ (https://goo.gl/eS3xRF)

 

และอีกสองผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานด้านวิชาการวิทย์เทคโนฯไทย ต่างกรรมต่างวาระ แต่มาด้วยคำถามเดียวกัน คือ

Q:  ข้างบ้านซื้อเหรียญควอนตัมราคาสามล้าน (เท่ากันเป๊ะ) ... มันทำงานอย่างไร ?

A:  ... (ได้แต่จ้องตา มิได้ตอบ สักพักก็เดินจากไป เหมือนกันเป๊ะ) ...

 

ผลลัพธ์ต่อมา: เหลือไว้ซึ่งความหวังอนาคตที่น้อยลงอีกนิดของวงการไอทีควอนตัมไทย ... เอวัง !

"เวลาน้อย !"

(2015)

 

Q: "คุณมีเวลาแค่ห้านาที หากอธิบายให้ผู้บริหารรู้เรื่องควอนตัมไม่ได้ก็หมดโอกาส"

 

A: ....(จัดให้ตามที่ขอแล้วด้วยคำตอบชุดจิ๋วและชุดนาโน)....

 

Q: "แล้วทำไมถึงมีแต่เชิงควอนตัม รหัสลับไม่มีเชิงแบบอื่นบ้างหรือ ?"

 

A: ... ?@$%^^GGJYนะ$%^โม*Fc93k7#Wadi*)ecj%YC# ... อืม ..

 

 

 

ผลลัพธ์ต่อมา: ไม่ทราบผล แม้ใช้เวลามานานมากแล้ว

 

"กรรมการฝากมา นายให้ถาม เลขาตาม ... (แล้ว) หาย "

(2012 - 2013)

 

5/22/56 BE 1:48 PM,

โครงการ "การผลักดันร่างมาตรฐานสาธารณะการสื่อสารปลอดภัยสูงสุดด้วยรหัสลับควอนตัม (ETSI-QKD) สู่ศูนย์ความเชี่ยวชาญสำหรับประเทศไทย" ขอให้เตรียมคำตอบเพิ่มเติม คือ 

Q: อธิบายเทคโนโลยีรหัสลับควอนตัม ว่าคืออะไร ที่เขียนมาไม่พอ ช่วยอธิบายละเอียดด้วย มีภาพประกอบก็ดี

Q: ข้อต่อไปคือ ทำไมต้องใช้เทคโนโลยีนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมหรือไม่ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม จะต้องรู้เรื่องนี้เพื่อให้บริการหรือไม่ หรือผู้ที่เป็นผู้เข้ารหัสจะเป็นใคร (ขอสั้น ๆ)

 

A: ได้ทำสรุปหนึ่งหน้า (สั้น ๆ มาดังแนบ) ตอบคำถามที่ได้รับมา และเพิ่มเติมจากคำถามทางโทรศัพท์ เช่น เกี่ยวกับการไม่ทับซ้อนกับภารกิจงานมาตรฐานของหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย เป็นต้น ... (และอื่น ๆ ส่วนข้อมูลสามชุดเล็กกลางและใหญ่ได้มอบก่อนหน้าแล้ว)

ผลลัพธ์ต่อมา: .... (ความเงียบ) ...

"Classical - บุญเก่า"

(2008 - 2011, 2012)

 

Mr.1: "เราต้องมาพิจารณาบริบทกันใหม่ว่าเมืองไทยจำเป็นต้องทำวิจัยต้นน้ำไหม เราไม่ได้มีงบประมาณมากมายต้องมาดูพื้นฐานกันใหม่ว่าความต้องการคืออะไร" ... "ประเทศไทยเราคงต้องพิจารณาให้ดีว่าเราควรจะต้องทำอะไรและทำอย่างไรเพราะสภาพแวดล้อมทรัพยากรไม่เหมือนกันครับ"

Mr.2: "งานวิจัยต้องห่างออกมาจากมหาวิทยาลัย เราต้องไปเสริฟย์ภาคอุตสาหกรรม ไม่มีประโยชน์ที่จะทำวิจัยพื้นฐาน"

Mr.3: "หากผู้บริหารยังกินบุญเก่าอยู่แบบนี้ อนาคตจะเป็นอย่างไร" ... "... เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านกำลังคนให้ประเทศไทยไปก่อนได้"

Mr4: "ทำไม่สำเร็จวันนี้ ดีกว่าอีกสิบปีข้างหน้าเสียโอกาส แล้วมาถามกันว่าทำไมสิบปีที่ผ่านมาถึงไม่ได้ทำกัน"

A: ... (ถามเองตอบกันเองครบแล้ว จึงสดับรับฟังเฉย ๆ) ...

ผลลัพธ์ต่อมา: ... บุญน้อย !

"Superposition - ต่างกรรมต่างวาระ"

(2015)

(ก่อนเข้าห้องประชุม)   

Mr.5) ที่นี่ ... "ไม่มีหน่วยไหนมีภาระกิจใกล้เคียงกับที่เสนอ"

(ในห้องประชุม)   

Mr.5) “สมัยผมเรียน (นักเรียนทุนกว่า 30 ปีก่อน) อาจารย์บอกว่าเทคนิค (ก) จะแก้ปัญหาโลกของ (ข) ในอีกสิบปีข้างหน้า หัวข้อนั้นจึงไม่เหมาะกับเมืองไทยจึงไม่เลือกเรียนเพราะนานไป” ... "ควอนตัมอีกนานเหนื่อยเกินไป เมืองไทยรอไม่ไหว" ...

 

A : (คำชี้แจงหลังจากยุติการนำเสนอเพื่อปรับรูปแบบเป็นโครงการอาสา เพื่อสาธารณะ โดยอาสาสมัคร) "...ความมุ่งหมายงานด้านไอทีควอนตัมตั้งแต่เริ่ม คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไกลผู้ใช้ จะเริ่มใหม่ที่แตกต่างแม้มีโอกาสสำเร็จในประเทศน้อย ... เพื่อสร้างความพร้อมและปูทางให้คนรุ่นใหม่จากประสบการณ์ที่ได้ลงแรงไปมากแล้ว และได้อาสาทำมาระยะหนึ่งแล้วแม้ยังไม่มีแหล่งสนับสนุนเพียงพอและแม้จะไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น งานนี้จะไม่ควรเป็นภาระใดให้หน่วยงานใด"

ผลลัพธ์ต่อมา: (นอกห้องประชุม)

Mr.5) "ผมขอชื่นชม ทราบว่าเป็นความตั้งใจดี คงเป็นการตัดสินใจที่ยากยิ่ง และผมมั่นใจว่าจะเป็นความสำเร็จที่สวยงามในอนาคต"

A : "??!@#$%&*ยถา@$LGDSFวริว #$^&*!@W-Ha-Pu-ปา-Ri_ปุ*เรติ_สาKaรัง&#@ ??? ... Saธุ "

 

"KPI - ใจร้อน ... บร้าาา"

(2011, 2015)

Mr.2) "เราควรเน้นงานทีเพิ่มตัวเลขดัชนี (KPI) การแข่งขันให้ประเทศ"

Mr.6) "บ้านเราใจร้อนเพราะเราไม่มีความคิดของเราเอง เราเห็นเขามีจึงใจร้อนอยากมี แต่เพราะเขาเหล่านั้นสร้างประเทศมาก่อนหน้าเราด้วยวิทยาศาสตร์นานแล้ว ประเทศไทยเพิ่งเข้ามาสู่ยุควิทยาศาสตร์ประมาณไม่ถึง ๓๐ - ๕๐ ปีมานี้"

ทสรุปที่ต้องตีความจากประธานของแต่ละสนามงบประมาณ นโยบายและแผนแม่บท:

(ยุค ๒๕๔๐ - ๒๕๔๙)       ต้องมีการ "บูรณาการ" ควอนตัมต้อง ...

(ยุค ๒๕๕๐ - ๒๕๕๙)       เนื่องด้วย "บริบท" ... บลา บลา บลา ควอนตัมต้อง ...

(เริ่ม ๒๕๖๐ ........  )        คาดว่า จะเป็น "แบะ แบะ แบะ ... บร้าาาา

Q: Please, what about here, what should we do in Thailand, Sir ?

 

 

 

(กว่าทศวรรษ ทำได้แค่นี้หรือ ?") กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
<--- "แล้ววันที่คำถามนี้มาถึง จึงจะมาเปิดคำตอบกัน ที่นี่"
bottom of page