top of page
3-.jpg

What quantum is ?

“ควอนตัม” - จำนวนน้อยที่สุดหรือหน่วยของบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือหน่วยของพลังงาน

“Quantum -- the smallest amount or unit of something, especially energy [ dictionary.cambridge ]

วอนตัมนั้นหรือ  สั้น ๆ มันคือ ...

          ปริมาณทางกายภาพที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก ควอนตัมกำเนิดจากแนวคิดที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับอนุภาคเล็ก ๆ เช่น อิเล็กตรอน อะตอม โมเลกุล แต่ขัดแย้งกับสามัญสำนึกของมนุษย์โดยทั่วไป (รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสพื้นฐานทั้งห้าโดยตรงไม่ได้) กำเนิดเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1925 ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อมามากมายทั้งการสื่อสาร การคำนวณ การเทียบ(มาตร)วัด จนถึง การส่งถ่าย (teleportation) แห่งโลกอนาคต ฯลฯ พร้อมทั้งเกิดการนำคำ "ควอนตัม" ไปอ้างเกินจริง อิงความเชื่อ สร้างภาพลักษณ์ส่วนบุคคล ขายสินค้าพ่วงบริการ ผลิตงานวิชาการเทียม นโยบายเปี่ยมความพิลึกพิกล ฯลฯ

ระวัง !

“ควอนตัมจัดอยู่ในวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงทางตรงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

จึงมักเกิดการจินตนาการ แอบอ้าง ใช้ยกระดับภาพลักษณ์

กลายเป็นความขลัง ของขลัง หรือเรื่องหลอกลวงได้โดยง่าย”

QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg

ป้องกันการหลงผิดวิทยาศาสตร์ 
(ไปในทางที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัม)

Meanwhile those impressive scientific development have been showing but they are still in just a small group of people mostly in academia. However, another side of the same coin, there are a number of frauds by entitling “quantum” in many kind of products (nothing related to quantum mechanics) such as quantum pedant, bracelet, thermos bottle, cosmetics, health checker, or accessories, with miracle promoted specifications and results. In addition, a higher number of scandals from misconducted researches have been found in academic society. These negative impacts cover wider group of people and easier to be accessed. This dark side of the coin leads to high lost and destroyed many parts of science community. Those similar cases are presently so serious in the Thailand as well.

(Jan 25, 2017: updated- Jan 27, 2018)

10-MicroPlatics

10-MicroPlatics

11-Cell-Kyoto

11-Cell-Kyoto

12-Share-Care

12-Share-Care

(Aug 6, 2015: revised Aug 22, 2015)

ประเภทที่หนึ่งด้านวิชาการ คัดย่อมาจากบทที่ 4: 

 

สารสนเทศเชิงควอนตัมประเทศไทย: พัฒนาการด้านวิทยาการรหัสลับ อดีตสู่อนาคต (พ.ศ.๒๕๕๗) 

 

4.2.2 ข  การสื่อสารวิทยาศาสตร์: ทัศนคติและความสับสนทางวิชาการ

(Classical vs Quantum)

 

การพิจารณางานด้านที่เกี่ยวข้องกับ"ควอนตัม"ด้วยมุมมองแบบเดิม ๆ ทำให้เกิดความ คลาดเคลื่อนบ่อยครั้งทั้งในผู้ปฏิบัติและระดับนโยบาย ดังตัวอย่างที่ควรได้ศึกษาจากเหตุการณ์ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งการตีความควอนตัมในทางปาฏิหาริย์ ความลึกลับซับซ้อน ความเข้าใจในทางผิด ความคาดหวังในแนวทางเดิม (classical) และอื่น ๆ ควรได้เร่งทำการแก้ไขและสื่อสารสาธารณะต่อไป ดังเช่น

 

  • ความเข้าใจและความคาดหวังผล

    • "โครงการควอนตัมควรต้องได้เป็นชิ้นงานนำมาใช้ร่วมกับงานอื่นเหมือนกัน”

    • "ควรใช้ (จำนวนสุ่ม) ควอนตัมกับงานออกลำดับคิวเพื่อขอรับสลาก...”

       

  • ทัศนคติเชิงลบของภาคสาธารณะ

    • การขายสินค้าเช่น เหรียญ เครื่องลาง ของขลังอาคม ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีชื่อ "ควอนตัม" โดยแสดงสรรพคุณเพื่อการรักษาและประโยชน์ด้านต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าที่ชวนให้เชื่อถือได้นั้น ได้ส่งผล กระทบต่อทัศนคติพื้นฐานของสังคมให้คลาดเคลื่อนไปอย่างมาก

    • การได้รับอิทธิพลจากสื่ออื่นๆ ที่มีผลทำให้ความเข้าใจเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมผิดเพี้ยนไป เช่น ภาพยนตร์หรือนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อ"ควอนตัม" เป็นต้น

  • ความคลาดเคลื่อนด้านเทคนิคและมุมมองส่วนบุคคล

    • “ควอนตัมควรไปรักษาความปลอดภัยให้คลาวน์ (cloud) และข้อมูลส่วนบุคคล"

    • “...ขอควอนตัมไปแก้ปัญหาการดักฟังโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล”

    • เก็บกุญแจรหัสลับควอนตัมไว้ใช้ภายหลัง (สถานะควอนตัมสร้างแล้วหายไปเมื่ออ่านค่าแล้ว)

    • “สมัยเรียน (30 ปีก่อน) อาจารย์บอกว่าเทคนิค (ก) จะแก้ปัญหาโลกของ (ข) ในอีกสิบปีข้างหน้า หัวข้อนั้นจึงไม่เหมาะกับเมืองไทยจึงไม่เลือกเรียนเพราะนานไป (แต่ปัจจุบันมีขายทั่วไปแล้ว)” "ควอนตัมอีกนานเหนื่อยเกินไปเมืองไทยรอไม่ไหว"

       

  • มุมลบทางวิชาการ

    • งานวิจัยบางกรณีมีความผิดปกติด้านเทคนิค เช่น ระบุว่าได้ทำการทดลองด้าน ควอนตัมแสงที่มีความเร็วสูงแต่ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ครบเครื่องและมีความเร็วต่ำมาก ทว่านำเสนอผลแทนด้วยจินตนาการว่าเป็นงานสารสนเทศเชิงควอนตัม(ซึ่งมิใช่ทั้งการทดลอง (experimental physics) หรือแม้ทฤษฎี (theoretical physics))

    • การนำเสนอผลงานวิชาการเลี่ยงไปในแหล่งอื่นและมีข้อสงสัยด้านการพิจารณาผล (peer reviewed) ที่มีความขัดกันในตัวเอง (conflict of interest) เป็นต้น

 

เพิ่มเติม:

(ในสหราชอาณาจักร มีหน่วยงานที่นำเสนอผลเชิงนโยบายต่อรัฐบาลเพื่อการตัดสินใจกับแนวทางวิทยาการใหม่ ๆ รวมทั้งกรณี Quantun FRAUD เหล่านั้นด้วยคือ  the National Technical Authority for Information Assurance https://www.cesg.gov.uk/  โดยเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากเนื่องจากเริ่มที่ปลายปีค.ศ.2013 เป็นต้นมาและต่อไปอีกถึงห้าปีที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะได้ใช้จ่ายถึง £ 270 ล้านปอนด์ หรือประมาณมากกว่า“หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาท (14,000,000,000 บาท )”ในการสนับสนุนงานวิจัยชื่อหัวข้อ“เทคโนโลยีควอนตัม”  

 

มีงานวิจัยตีพิมพ์ทั่วโลก อันเกิดความสับสนและทัศนคติและพื้นฐาน เช่น Quantum Hacking สถานะควอนตัมขึ้นไปทำงานร่วมโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ หรือเก็บกุญแจรหัสลับควอนตัมไว้ใช้ในภายหลัง โดยส่วนใหญ่อาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการคาดหวังของวิศวกรที่คาดการณ์ล่วงหน้าไปเองว่า "ควอนตัม" จะเป็นเทคนิคพิเศษที่จะมาแก้ไขอุปสรรคได้ตามที่ต้องการและอื่น ๆ แต่หากเป็นนักฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ตัวอย่างที่พบเห็นมักจะเป็นกรณี FRAUD ที่เกิดทั้งจากจินตนาการไปเองจนถึงตั้งใจกระทำในทางที่ผิดไปจากหลักการกลศาสตร์ควอนตัม ทั้งนี้ มีตัวอย่างเกิดขึ้นจำนวนมาก และมีเกิดไม่น้อยในประเทศไทยด้วยเช่นกัน (สำรวจอ้างอิงได้จาก Scorpus / ScienceDirect ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย และฐานข้อมูลออนไลน์  อื่น ๆ)) ซึ่งควรช่วยกันให้ความรู้และเปิดกว้างสู่สาธารณะเพื่อช่วยกันตรวจสอบและขัดเกลาและเพื่อช่วยผลักดันให้กลับสู่เส้นทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องเหมาะสมร่วมกัน

 

ทั้งนี้ หากพิจารณากรณี FRAUD หรือความสับสนในอดีตของประเทศไทยทั้ง จีที (GT200) ว่านจั๊กจั่น ต้นไม้วิเศษ ไฟจุดติดเองได้ในบ้าน ฯลฯ เป็นอุทาหรณ์แล้ว การมาของ "เทคโนโลยีใหม่ด้านควอนตัม" อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการหลงทิศผิดทางได้มาก จึงควรหาทางป้องกันกันล่วงหน้า

แม้พื้นฐานความรู้ด้านกลศาสตร์ควอนตัมของประเทศไทยจะห่างไกลจากต้นกำเนิดมากและไม่มีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างงานวิจัย สินค้า หรือบริการที่เกี่ยวข้องขึ้นได้เองในประเทศ แต่ก็สามารถป้องกันผลลบ การสูญเสีย หรือทัศนคติที่ทำให้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้าหลังได้ มาช่วยกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกัน 

-------------------

ประเภทที่สองด้านสินค้า มีชื่อควอนตัม" แต่มิได้เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัมแต่อย่างใด

สืบค้นและตรวจหาได้ทั่วไปทางอินเทอร์เน็ต (ด้วยความระมัดระวัง) สินค้าบางชนิดมีประโยชน์ในประเภทของตนเองจริงเพียงแต่มีชื่อควอนตัมที่กลศาสตร์ควอนตัมมิได้มีผลอะไรกับสินค้านั้น และบางชนิดควรพิจารณาโดยถี่ถ้วนเพราะเข้าข่ายไม่เหมาะสม

ประเภทที่สาม ด้านคำเหมือนหรือใกล้เคียง เช่น ซอฟท์แวร์สารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์(จริง)

ชื่อ "ควอนตัม" (แต่มิได้เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัม) หากสืบคันด้วยคำสำคัญ คือ "ควอนตัม" และ "สารสนเทศ" อาจพบและสับสนได้ต่อ

"สารสนเทศเชิงควอนตัม หรือ ไอทีควอนตัม" http://www.qgis.org/en/site/

ประเภทที่สี่ ทัศนคติผู้นำด้านวิชาการหรือบุคคลสำคัญของประเทศ

ตัวอย่างที่หนึ่ง จาก "คำนำ" หนังสือ "รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไอทีควอนตัม (1)"

 

การทำเรื่องยากให้เข้าใจง่ายก็อันตรายเหมือนกัน หากผลที่ได้กลับทำให้เกิดความสับสน ง่ายจึงอาจกลายเป็นยากยิ่งขึ้น ... วิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์มาตั้งแต่เรื่องโลกกลม เต่ายักษ์ผลิกตัวดินถล่ม โรคภัยจากภูตผี ฯลฯ ทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงได้แทนเรื่องบอกเล่าเก่า ๆ แต่ผู้ที่ท้ายทายความเชื่อดั้งเดิมก็มีอันต้องเจ็บตัวกันหน่อยทั้งกาลิเลโอ บาทหลวงหรือนักวิทยาศาสตร์ผู้เปิดโปงไสยศาสตร์ทั้งหลาย

แล้วเรื่องนี้ล่ะจะไหวไหม? วิทยาศาสตร์ด้านกลศาสตร์ควอนตัม เมื่อประยุกต์กับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที อันจะได้มาซึ่งระบบใหม่ที่มีขนาดเล็กลง เร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น เกี่ยวโยงกับอุปกรณ์ การสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเกิดเป็นวิทยาการสาขาใหม่ "สารสนเทศเชิงควอนตัม" ที่มีศักยภาพสูงขึ้นมากด้วย

 

ในหลายประเทศได้รับการผลักดันเป็นโครงการระดับชาติ เนื่องจากประจักษ์แล้วว่าจะมีบทบาทสำคัญในอนาคต แม้การสื่อสารความรู้ความเข้าใจสู่ภาคสาธารณะจะคงมีอุปสรรคมากมาโดยตลอด สำหรับประเทศไทยเองยังคงตามหลัง ความก้าวหน้าของโลกห่างไกลมาก มุมหนึ่งนั้นคือ "ในจำนวนประชากรไทยมากกว่าหกสิบล้านคน มีสนใจวิทยาการด้านควอนตัมตัวจริงน้อยมาก แต่มีผู้ที่เข้าใจในมุมที่กลับด้านจนเป็นปกติ (เช่น เครื่องลางของขลัง สินค้าที่ใช้ชื่อควอนตัม ปาฏิหาริย์ ความคาดหวังผลแบบอดีตที่จับต้องซื้อหาได้ในทันที ฯลฯ) มีจำนวนที่สูงกว่าอย่างมากมาย" ... ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ก็มีอยู่คู่เมืองไทยทั้ง จีที 200 รอยพญานาค ว่านจักจั่น วันสิ้นโลก เรื่องโจ๊กฮาวิทยาศาสตร์จึงมิขาดหายไปจากสังคม

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องเริ่มน้ำซึมบ่อทรายโดยสื่อสารรายสัปดาห์ไปในคอลัมน์ไอทีหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์มาได้สักระยะกับเรื่อง "ควอนตัม ๆ" ทำหนักให้เบาแล้วจึงมารวมเกลาเป็นเล่มนี้เพื่อช่วยสื่อสารสาธารณะอีกที อีกรูปแบบ ช่วยกัน ๆ

แต่...ผลก็ยังคงดูน่าหนักใจมิใช้น้อยเมื่อผู้ใหญ่ในวงการวิทย์ฯ หลายท่านเดินมาบอกระหว่างทำงานไอทียุคใหม่เหล่านี้ว่า ข้างบ้านใช้ของขลังชื่อ"ควอนตัม" (ราคาสามล้าน) แล้วคนไข้ป่วยหนักลุกขึ้นมาเดินได้ ... หาย (ไปไหนแล้วไม่รู้หลังจากนั้น)

ตัวอย่างที่สอง จากการให้ข่าวของบุคคลที่มีชื่อเสียง

การเป็นผู้นำเสนอสินค้า (presenter) ของนักร้อง นักแสดง หรือการนำเสนอของผู้มีชื่อเสียงในสังคมต่อความเชื่อส่วนบุคคลกับความคิดต่อวิทยาศาสตร์ทั้งจริงหรือแปลกปลอมในเชิงชี้นำ จะมีผลกระทบสูงมากต่อสังคมแม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ก็ตาม เช่นกรณี GT200 กับคำพูดสาธารณะ "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แม้จะชี้ถูกแค่หนึ่งในสี่ 25% ที่ชี้ถูกนั้นก็ชี้เจอ (......) ในบ้านนั้น" หรือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคคลสำคัญวงการกีฬาหรือศิลปินต่อการร่วมงานเปิดตัวสินค้าที่โฆษณา (เช่นเหรียญควอนตัม) ว่ามีคุณสมบัติอัศจรรย์หรืออื่น ๆ แม้ได้ทราบในภายหลังแต่ก็ได้ทำให้เกิดความเชื่อหรือความไม่มั่นใจของสังคมไปไช่วงหนึ่งแล้ว ซึ่งผลกระทบที่สูงมากก็เป็นตามชื่อเสียงของบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ

... ซึ่งควรได้ตระหนักและหาช่องทางสื่อสารนำเสนอข้อมูลได้กว้างขวาง รวมทั้งเผื่อสำหรับกรณีในอนาคตอื่น ๆ ด้วยเพื่อให้ได้มีโอกาสตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอใด ๆ ต่อสาธารณะได้ทันเวลา อันจะเป็นการช่วยปรับแนวทางให้บุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้นได้ช่วยสื่อสารวิทยาศาสตร์ในทิศทางที่ถูกต้องต่อไปได้

ประเภทที่ห้า แปลมาผิด

 

กรณีตัวอย่างการนำเสนอความรู้สาธารณะที่ประสงค์ตัดทอนให้ง่าย สะดวก และเพื่อทำความเข้าใจได้รวดเร็ว ทว่าทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน อาทิ ปรากฏการณ์ควอนตัมของการทดลองชุด Mach-Zehnder Interferometer ที่โฟตอนเดี่ยวจะเสมือนมีการปรากฏอยู่ในตำแหน่งมากกว่าหนึ่งแห่งหรือที่เรียกว่า Superposition แต่มีหลายแหล่งข้อมูลกลับไปยกนำมาเพียงกระจกแยกแสง (Beam splitter) ที่มีคุณสมบัติ 50:50 หรือ 50% โดยให้แสงมีโอกาสทะลุผ่านหรือสะท้อนที่เท่าเทียมกันว่าจะสะท้อนหรือทะลุผ่าน ไปแปลนำเสนอสู่สาธารณะผิดความหมายเพียงสั้น ๆ ว่า "โฟตอนเดี่ยว แยกออกเป็นสองตัวไปในสองทิศทาง" เป็นต้น

 

 

.วิทยาศาสตร์มิได้เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ แต่คือธรรมชาติ ...

 

---------------------- end :

 

ความเห็น:

(4) C L (Dailynews 8 July 2016: ไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์)

บทความนี้อ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ
อยากให้ชี้ให้เห็นว่าคนที่เสนอเรื่องควอนตัม ผิดตรงจุดไหน

 

(3) J. T.

ผมว่ามันก็มีทั้งข้อและข้อเสียนะครับ ข้อดีคือ ทำให้คนทั่วไปรู้จักคำนี้ และให้ความรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ล้ำสมัย เมื่อถึงจุดนึงคนก็จะหันมาสนใจว่า ควอนตัม "ของจริง" นั้นคืออะไร

FB 26 พฤษภาคม 2558 เวลา 22:05 น.

--------------------------

(2) Prat. Meta. 

อ้าวพึ่งมี คอมพิวเตอร์ควอนตัมเหรอครับ ที่บ้านมีทีวีควอนตัมนานแล้วครับ Quantum television

FB 6 พฤษภาคม เวลา 12:46 น.

(http://www.dailynews.co.th/article/318469)

--------------------------

(1) Q-Thai

ผลงานวิชาการตีพิมพ์แล้วแสดงว่าเป็นที่ยอมรับ แม้ในวารสาร Nature photonics ชั้นนำของโลกก็มี quantum hacking มีคุณค่าทางวิชาการและข้อถกเถียงต่อมามาก ซึ่งเป็น quantum efficiency ของตัวรับแสง ไม่เกี่ยวกับ quantum cryptography แต่อย่างใด แต่มีความพยายามให้ไปเกี่ยวเพื่อเหตุผลที่ควรพิจารณาได้เองว่าเพราะอะไร ดังนั้น สถานะควอนตัมกระโดดขึ้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ตรงๆ หรือรหัสลับควอนตัมเก็บแช่ไปจัดการภายหลังก็มีประโยชน์ทางวิชาการตีพิมพ์ได้ (ด้านอื่นแนวทางหรือวารสารแนวอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม) แต่ไม่ได้เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมหรือรหัสลับควอนตัม ที่เกิดขึ้นมาเพื่อ "ป้องการการดักฟังหรือข้อมูล (tap) ระหว่างทางผู้ส่งและรับ" หากไปทำส่วนงานอื่นก็เป็นเรื่องอื่นที่พยายามให้มีชื่อเกี่ยวข้องกับ "ควอนตัม" หรืออาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์เท่านั้น  จึงไม่เกิดประโยชน์ (ด้านรับประกันความปลอดภัย 100% ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ Uncertainty Principle ซึ่งไม่มีผลอยู่บนงานเหล่านั้นที่ส่วนไหนแต่อย่างใด) 

 (2558)

bottom of page