top of page

ยุทธศาสตร์ (Strategic) :     .... of four with four factors  (budget, HR, tech transfer, and related policy) for building the Thai QKD testbed

 

โครงการการสร้าง “ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (Thai Quantum Cryptography Testbed)” นี้ มีที่มาและแนวคิดต่อยอดจากโครงการเดิมคือ “การสื่อสารปลอดภัยสูงสุดด้วยรหัสลับควอนตัม:การถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากร)” จากการสนับสนุนโดยกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) - กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) พ.ศ.2558 - 2559)1 เพื่อพัฒนาบุคลากรผ่านการฝึกอบรม และส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านสารสนเทศเชิงควอนตัม ผ่านทางหน่วยงานสถาบันการศึกษาและอื่น ๆ ในช่วงก่อนหน้า รวมทั้ง จะเป็นการฟื้นงานด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนาไว้ส่วนหนึ่งแล้วจาก (อดีต) ข้อเสนอโครงการ “ศูนย์กลางการทดสอบการใช้งาน การวิจัยและการพัฒนาด้านวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมของประเทศ” (Thai Quantum Cryptography Testbed) เสนอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2551 ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)2 (หลังเหตุการณ์ 19 กันยายน พ.ศ.2549) และแม้ต่อมามีการนำเสนออีกสองครั้งโดยลุล่วงแล้วผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกทช.ในขณะนั้นแล้วก็ตาม แต่ในปี พ.ศ.2553 มีการเปลี่ยนโครงสร้างจาก กทช. เป็น กสทช. รวมกับการเปลี่ยนแปลงภาคการเมืองและนโยบายก่อนหน้าและต่อ ๆ มาตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี จึงทำให้โครงการเดิมนั้นต้องหยุดชะงักลง อันเป็นการเสียโอกาสของประเทศไปรวมถึงทรัพยากรที่ได้ลงทุนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งครุภัณฑ์ บุคลากร เวลา รวมทั้งโอกาสติดตามเทคโนโลยีความก้าวหน้าของโลกที่ช้าลง โดยทีมงานนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้พยายามรักษาสถานะภาพ องค์ความรู้และความพร้อมทุกด้านเพื่อให้มีโอกาสฟื้นกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง และเป็นโอกาสอันดีที่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) โครงการได้เริ่มกลับมาขับเคลื่อนงานส่วนย่อยด้านการพัฒนาบุคลากรแล้ว ซึ่งยังคงต้องได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กลับเข้าสู่การสร้างเป็น “ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม” ดังวัตถุประสงค์ข้างต้นได้ต่อไป

 

โดยการจัดตั้งศูนย์ฯนี้ จะได้นำประสบการณ์ในอดีตมาปรับใช้เพื่อทั้งเร่งสร้างแนวทางการพัฒนาสำหรับอนาคตพร้อมลดความเสี่ยงจากปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ทั้งสี่คือ 1. งบประมาณ 2. บุคลากร 3. การถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 4. นโยบายที่เกี่ยวข้อ3 ที่ได้ประเมินความไม่สมบูรณ์ของโครงการในอดีตมาด้วยแล้ว และนำมาสู่การวางยุทธศาสตร์ที่มีทั้งความรู้ใหม่และประสบการณ์เดิมสู่การสร้างแผนกลยุทธ์ได้ รวมทั้งโครงการฯ ได้ศึกษาแนวทางของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการงานด้านที่เกี่ยวข้อง (ดังภาคผนวก ข) เพื่อใช้เป็นทั้งแบบอย่างแนวทางและเพื่อสร้างความเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรทางวิชาการ ดังรายละเอียดของยุทธศาสตร์ต่อไปนี้

 

1 https://btfp.nbtc.go.th/announcement/detail/959

 

2โครงการความร่วมมือเดิม (MOU) ระหว่าง กทช. และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค ) สวทช.

 

3ปัจจัยเสี่ยงสี่หัวข้อหลัก (ภาคผนวก ข.4)

ยุทธศาสตร์ที่ ๑
(Strategic 1)

ระดมทุน (สร้างสนามเทคโนโลยีควอนตัม)

(Fundraising for building the testbed)

ยุทธศาสตร์ที่ ๒

(Strategic 2)

สร้างบุคลากร “ประตูสู่ควอนตัมโลก”

(HRD for opening to the world of quantum tech.)

ยุทธศาสตร์ที่ ๓
(Strategic 3)

วิทยาการ “ร่วมเรียนรู้โลก”

(Lerning quantum tech. speedy)

ยุทธศาสตร์ ๔

(Strategic 4)

นโยบาย “เป็นผู้ซื้ออย่างฉลาด”

(Being smart purchaser !)

(รายละเอียดยุทธศาสตร์ทั้งสี่ - all is inside here)

bottom of page