ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
2024 by OQC academy &
IEEE Thailand section Quantum IT
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
Q-Failure : ป้ายปักเตือนตนกับหนทางที่สะดุดล้มในอดีตของไอทีควอนตัมไทย (ดู milestones)
รวมหัวข้อเพื่อร่วมพัฒนาอนาคตด้วยเหตุแห่งการล้มลงในอดีต การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทำให้การวางแผนสู่อนาคตเข้มแข็งขึ้นของ
(Since 2016: updated: February 5, 2017) “I have not failed. I’ve just found 10,000 ways that won’t work.” - Thomas A. Edison
Topic 1 : "ต้นทุนการหลงผิดวิทยาศาสตร์"
ประเทศจีนมีผลงานวิชาการสูงสุดในโลก ก็ยังยอมรับว่ามีงานวิชาการแปลกปลอมมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนกับ 7 หมื่นชิ้นต่อปีนั้นจะเหลือไม่ถึง 1% (ประมาณการ + 70,000 (ของดี): - 700 (กรณี misconduct แบบสมมติให้ถึงวันละกว่าสองกรณี)) ...
หากย้อนกลับมาดูของเมืองไทยเองบ้าง แค่ไอทีควอนตัมสาขาเดียว ณ เม.ย. ๕๙ มีร่วม 60 ชิ้น และเป็นการทดลอง (experiment) จำนวนมาก ที่ไม่มีเครื่องมือจริง ขณะที่ผลงานจริงมีน้อยแต่กรณีงานสีเทา ๆ กลับพบประมาณครึ่ง (~50%) จึงกลายเป็นผลลบวิชาการกลับทิศทาง รวมกับอีกหลายกรณีตัวอย่างของภาคสังคม ที่มีเรื่องราวควอนตัมหลอกลวงจำนวนมากมายมหาศาลแล้ว (click: Q-No-Fraud)
ดังนั้น "การทุ่มเทรัพยากรและเวลาเพื่อพัฒนาเดินทางไปข้างหน้า ทว่าก็ต้องตระหนักว่ามีสิ่งที่ต้องตามแก้ไขมากมายขึ้นด้วยเช่นกัน เป็นต้นทุนแฝงก้อนใหญ่ที่เลี่ยงไม่ได้ ! "
Topic 2 : "เมื่อผู้ใหญ่ทัก ควรตระหนักรู้ (๑)"
Q: "บรรดาผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งที่สองของประเทศนี้ หายไปไหนกันหมด ?"
A: ... (ผู้ฟังแต่ละคน ... เงียบ)
Q: "บรรดานักเรียนฟิสิกส์โอลิมปิกได้เหรียญมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว หายไปไหนกันหมด ?"
A: (เงียบ)
Q: "บรรดานักเรียนทุนจบกับมาได้ด๊อกเตอร์แล้ว ทำอะไรกันต่อ ?" "Profile/ CV ต่อออกมาจากสมัยเรียนมีไหม ?"
A: (ผู้ฟังแต่ละคนเริ่มคาดเดาคำถามต่อไปทันที)
Q: "บรรดาผู้ได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศทั้งหลาย รับแล้วหายไปไหนหมด ?"
(คำถามจาก ศ.สุทัศน์ ยกส้าน ที่ไม่ได้ต้องการคำตอบฝากถึงศิษย์เก่านักฟิสิกส์ที่เคยฝึกอบรมให้ แต่หลบกายหายไปจากวงการหลายคนผ่านบันทึก เรื่อง ๑ และ เรื่อง ๒ (click))
...............................
"ต่อมาหลายโครงการของประเทศที่ หน.โครงการ ทิ้งงาน ... มีเขาเหล่านั้นร่วมอยู่ด้วยนั่นเอง ! "
Topic 3 :"ไอน์สไตน์"ก็อยากเป็น แต่เล่นขอจาก"โดราเอมอน"
ความคิดประหลาดของนักวิชาการที่ให้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัมคือวิธีหรือเครื่องมือ (tools) วิเศษ ก่อให้เกิดเหตุการณ์ควอนตัม "จำแลง" รวมถึงการสร้างงานวิจัยเชิงจินตนาการขึ้นเองราวกับขอได้จากกระเป๋าโดราเอมอน (เปรียบเทียบกับความใฝ่ฝันในวัยเด็กว่าขอได้ทุกอย่างจากประเป๋าวิเศษตัวการ์ตูนดัง แต่ก็มีไอน์สไตน์เป็นต้นแบบนักวิทยาศาสตร์ที่ประสงค์จะก้าวตามของนักตีพิมพ์หลายกรณี ) ...เป็นกันทั่วไป เมืองไทยก็มี (มาก) จึงเริ่มแล้วล่มมิใช่น้อย เพราะเสกผลวิจัยขึ้นตีพิมพ์ !
เช่น ไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์ (4) : รู้ไหม ? เป็นปรากฏการณ์สร้างโครงการวิชาการเทียมจำนวนหนึ่งเกิดขึ้นและหายไปในเวลาอันรวดเร็ว หลีกหลบการตรวจสอบ
ควรช่วยกัน: 1) ขอดู ขอใช้ ขอไปเยี่ยมชมงาน 2) เชิญชวนให้กลับสู่แนวทางหลัก ผลักดันให้นำเสนอสู่สาธารณะด้วยตนเองให้กว้างขวางที่สุด และ 3) ปลูกฝังบุคลากรรุ่นใหม่กับแนวทางที่เหมาะสมกว่าการสร้าง"จำนวน"ผลงานการตีพิมพ์
Topic 4 : "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
การพัฒนาที่ปัจจัยการพัฒนาทั้งสี่ (๑. บุคลากร ๒. งบประมาณ ๓. วิทยาการ และ ๔. นโยบาย) สะสมไปไม่ถึงจุดมวลวิกฤติ แต่ลงทุนลงแรงตามยถาจึงเสมือนการละลายทรัพยากรลงแม่น้ำแห่งความคาดหวัง ดังเช่นกลุ่ม Q-Ti Forum ในอดีตที่สูญเสียไปในหลายโครงการ
ดังนั้น ควรร่วมกันดำเนินงานในแนวทางหนึ่งใด (จาก บทที่ 6 พิจารณ์และข้อเสนอ) จะทำให้เกิดการสอดรับกันของทั้งผู้ปฏิบัติและผู้สนับสนุนหรือสังคม ซึ่งจะไม่เกิดกรณีลงทุนน้อยหวังผลมาก หรือลงทุนมากหวังผลสูงแต่ขาดปัจจัยด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติและอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็น ... รวมทั้งเพื่อมิให้เกิดผลในลักษณะเดียวกันกับโครงการเทคโนโลยีตัวอย่างอื่นที่ล้มเหลวในอดีต (3G, UAV, VLC, ...) ... โดยลงทุนไปมากและใช้เวลานาน ต้องย้อนถอยกลับมาเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีทั้งหมดโดยสมบูรณ์ในที่สุด เสียเปล่า ... ดังเดิม !
Topic 5 : "เมื่อผู้ใหญ่ทัก ควรตระหนักรู้ (๒)"
คำแนะนำจากคณะที่ปรึกษา
"การจบจากสถาบันดังในต่างประเทศ หรือการเคยทำงานกับมือวางอันดับโลกมาก่อน ไม่ได้การันตีว่าจะหย่านมและทำเองได้ในเมืองไทย ! "
"ต่อมาหลายโครงการความร่วมมือในอดีตพบว่า ทั้งผลงานตีพิมพ์และวิทยานิพนธ์นักศึกษาที่ผลิตออกไปเป็นงาน "นั่งเทียนข้อมูล (fabrication)" หรือวิทย์เทียม (pseduo science) สร้างผลขึ้นมาเองจากจินตนาการ และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากภายนอก
(ดังนั้น: ผลผลิตจากความร่วมมือหลายชิ้นอยู่ระหว่างการหาทางชดเชยผลกระทบจากการตีพิมพ์งานที่นั่งเทียนข้อมูลเหล่านั้นที่หลุดรอดจากการตรวจสอบและสร้างผลเสียต่อวงการไอทีควอนตัมไทยเอง - "ทำดีร้อยวัน มิได้รับประกันความผิดแม้เพียงครั้งเดียว" ... "จบจากสถาบันดังของโลกหรือเคยอยู่กับคนเด่นดังของวงการ ก็มิได้รับประกันว่าจะทำถูกต้องไม่ฉ้อฉล"
... มาช่วยกันสอดส่องและเร่งสร้างกลไกป้องกันการเกิดซ้ำของงาน "นั่งเทียนข้อมูล" ของวงการไอทีควอนตัมไทย (ที่มีอยู่ร่วม ๕๐ % ก็หนักหนามากและแก้ไขไม่ทันแล้ว)...
Topic 6 : "เมื่อผู้ใหญ่ทัก ควรตระหนักรู้ (๓)" ... "เรื่องอะไร ... ! "
คำแนะนำจากคณบดีสถาบันที่ปรึกษา
"... ควรตระหนักว่า "การบริหารความเสี่ยง (risk management)" ของบุคลากรผู้ใต้บังคับบัญชานั้นสูงมากเกินแล้ว ทั้งทำงาน admin ไม่เป็น ขออย่างเดียว ทั้งอยู่ระหว่างการสอบสวนของคณะเรื่องพฤติกรรมส่วนตัวที่เจ้าหน้าที่เริ่มตรวจพบ รวมทั้งความชื่อสัตย์ ..." "โครงการที่ทำกันอยู่นั้นจึงควรตรวจสอบให้ดีด้วย !"
เหตุต่อเนื่องมา
Q: "เรื่องอะไร จะใช้ของที่มีได้อย่างไร ต้องเพิ่มให้สิ หากจะทำรหัสลับควอนตัมต่อ"
"เรื่องอะไร จะทำก็ต้องให้เพิ่มสิ เป็นความร่วมมือไม่ใช่งานส่วนตัว ! "
ต่อมาเมื่อโครงการต่าง ๆ ได้ยุติ(ล่ม)ลงแล้ว
Q: "การไฟฟ้าฯ ติดต่อมาจะใช้รหัสลับควอนตัมแล้ว ! ... กำลังจะทำ ต้องการให้นักศึกษามาใช้เครื่องมือ" ... "แล้วครุภัณฑ์ ของที่มีอยู่เอาไว้ทำไม ใครใช้อยู่ (ต้องการส่วนตัว)"
บทสรุป
ธรรมาภิบาล หรือ good governance มีความจำเป็นอย่างยิ่งตามข้อแนะนำของที่ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการบุคลากร แม้ภารกิจจะเร่งรีบปานใด ขาดแคลนปัจจัยสำคัญมากพียงไร ปัจจัยสำคัญสูงสุดของทุกภารกิจจะสำเร็จหรือล้มเหลวคือ "บุคลากร" ดังนั้น การมีคณะที่ปรึกษาหรือ adviosry board และการนำข้อแนะนำไปปฏิบัติจึงมิใช่การเพิ่มภารกิจหรือเสียเวลา อาจส่งผลดีตรงกันข้าม เช่นกรณีข้างต้นนี้