top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg

รางวัลไทยผู้เคยให้กลายมาเป็นผู้รับ ! | Book Intro. -4| “ปัญญาอลวน” |

(ส่วนหนึ่งจากบทที่ ๑๑ “รางวัลวิทย์ที่คิดไม่ถึง”) -- ภาพดิจิทัลยุคแรกที่ได้จึงขยายใหญ่ไม่ไหว อยู่ในระดับแค่พอดูได้เมื่อเทียบกับภาพจากฟิล์ม แต่แล้วหลังจากนั้นอีกทศวรรษกว่าถัดมา ใครจะคาดคิดว่าภาพถ่ายความละเอียดต่ำทั้งสองไฟล์จะเปล่งความชัดเจนสว่างขึ้นมาถึงกับทำให้ตาค้างเอาได้ เพราะทุกบุคคลที่ร่วมอยู่ในสองภาพกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังของสังคมแสงแฟลชจึงตามมาอีกคำรบใหญ่ โดยดังทั้งด้านที่น่าประทับใจและมีอีกด้านที่สร้างความงงงวยให้ จนอาจถึงกับอุทานได้ว่า ...

“อะไรกันนี่ !”


ด้านความประทับใจนั้นเกิดขึ้นขณะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกับภาพผู้ร่วมรับรางวัลเฟรมแรก คนนั่งด้านขวาสุดคือศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ผู้เป็นเจ้าของงานวิจัยการแพทย์คุณภาพที่ต่อมาเป็นผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนาโนของภาครัฐ แล้วไปต่อกับการเป็นผู้บริหารสำนักงานด้านการวิจัย ไปจนถึงปลัดกระทรวงสำคัญด้านการศึกษาและวิจัยของเมืองไทยในที่สุด แม้ไม่คุ้นเคยกันมาก่อนเพิ่งมาพบเจอในงานแต่รู้สึกปลื้มปริ่มไปด้วยกับความก้าวหน้าของปรมาจารย์คนเก่งระดับประเทศท่านนี้

แต่อีกภาพกลับกัน ทั้งหมดที่ยืนอยู่คือคนคุ้นเคย และในเวลาอีกหลายปีต่อมาคนร่วมภาพด้านซ้ายกลายเป็นบุคคลข่าวบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับกับข่าวสุดอื้ออึงในฐานะอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฯ ลาดกระบังที่ถูกสภาให้ลงจากตำแหน่ง ส่วนอีกหนึ่งคนด้านขวาผู้ขึ้นเวทีให้การสนับสนุนรางวัลได้ย้ายด้านมาเป็นผู้รับในอีกทศวรรษกว่าถัดมา

“สองสถานะบนเวทีเดียวกันหรือ ?” คือประโยคที่เหล่าสมาชิกก๊วนวงสนทนาทั้งที่รังสิตและโรงยิมทวนเป็นคำถามแล้วก็นิ่งเงียบกันไป ส่วนกรณีแรก “ข่าวการปลดอธิการบดีลาดกระบัง” คุยเท่าไหร่ไม่เคยจบเลย ไม่เคยเบา เหมือนพ่นไฟใส่กันทุกครั้ง กำเนิดรหัสเทอร์โบนั้นอลวนสมชื่อในตัวเอง สิ่งแวดล้อมตามท้องเรื่องหมุนวนให้สับสนจนต้องตามแกะรอยกระทั่งเข้าใจได้ถึงที่มาที่ไปในที่สุด แต่เหตุเกี่ยวโยงกับการแก้เกรดนักศึกษาที่เป็นลูกชายตนเองจนถูกปลดและต่อมาศาลปกครองกลางได้ยกอุทธรณ์การขอคืนสิทธิดำรงตำแหน่งอธิการบดีรวมทั้งสิทธิประโยชน์อันเป็นการยืนยันความผิดด้วยแล้วนั้น เป็นเรื่องราวรหัสทางสังคมที่ซับซ้อนสะกดให้ผู้คนทั้งเงียบหรือสับสนอลหม่านแบ่งข้างคิดแย้งกันต่ออีก มีทั้งด้านที่เข้าใจได้เองและที่รู้สึกเหลือเชื่อ จนต้องตั้งคำถามว่าจะทำความเข้าใจมุมไหนอย่างไรต่อดี ?

(ตัวอย่างบทที่ ๑๕ "โลกวิทยาศาสตร์การละคร")

… เมื่อรวมวัฒนธรรมประจำตัวแบบไทย ๆ หลายเด้งแล้วพัฒนาการจึงดูช่างห่างไกลกับของสากลยิ่งนัก การสถาปนาภาพลักษณ์สรรเสริญให้กับผลงานตนเองที่ก็ได้ซึมซับสู่นักวิชาการรุ่นทายาทต่อมามากแล้ว กรณีเทียบเคียงที่ว่านี้ก็ยังมีอะไรให้ขบคิดต่อได้อีก หรือจะลองกลับไปเหตุเดิมที่ทำให้สมาชิกก๊วนยังคงขุ่นคุยกันอยู่แบบเงียบ ๆ สมมติเปรียบเทียบแบบฟ้าถล่มดินทลายแนวนี้บ้าง อาจเป็นคำถามที่ทำให้เกิดคำตอบสู่การพัฒนาต่อ ๆ ไปได้ไหมว่า ...

“ไม่ใช่ระดับผู้ปฏิบัติหรือคนทำงานนะ เอาเฉพาะกับตัวผู้บริหารหรือผู้สนุนรางวัลก็พอ หากเคยขึ้นเวทีฐานะผู้ให้รางวัลโนเบลมาก่อนแล้ว ต่อมาเขาเหล่านั้นกลับขึ้นเวทีเดิมเดียวกันนั้นอีก แต่ย้ายข้างมาเป็นผู้รับแทน”


ภาพลักษณ์ของโนเบลจะยืนยาวมากว่าร้อยปีไหม รางวัลนี้จะยังขลังอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้หรือเปล่า หรือว่าต่างกติกาต่างเวลาวาระจึงไม่เกี่ยวกัน รางวัลใดของประเทศไหนต่างก็มียุทธศาสตร์เฉพาะตน ในเมื่อไม่มีข้อห้ามไว้จึงทำได้ อย่างนั้นหรือเปล่า ?


(ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕)

 

สิงหาคมนี้พบกับ สารคดีสี่จดหมายเหตุ ( “ปัญญาอลวน” ฉบับเต็ม)

๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023) #รหัสเทอร์โบ

๒) หลากเหตุการณ์ร่วมสมัยโทรคมนาคมไทยร้อยสี่สิบเจ็ดปี (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๕๖๕) #โทรคมนาคมไทย

๓) เสี้ยวอดีตสี่สิบปีวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๖๒) #MOST #กระทรวงวิทย์

๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง) #KMITL #สจล

 

IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย

#FightForScience #วิทย์ไทยคนละครึ่ง #เพื่อภาพลักษณ์ครึ่ง #เพื่อสังคมครึ่ง #สจล #KMITL


(special report)


| นิสสัคคิยปาจิตตีย์ & สละวัตถุและแสดงอาบัติ |


  • Facebook page
bottom of page