Fight for Science ที่หายไป ! | Book Intro.-2 | “ปัญญาอลวน” |
(ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ - บทที่ ๑๖ สายัณห์ของสัญญาณ) - “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง” … ก่อนที่กระทรวงจะถูกยุบไปควบที่ใหม่คิดในใจว่าบุคลากรภายในนั้นอาจจะมีการรณรงค์ “สู้เพื่อวิทย์ หรือ Fight For Science” เหมือนสมัยที่นักการเมืองเคยมาล้วงลูกแย่งงบอันน้อยนิดของกระทรวงเกรดซีนี้ไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ คนทำงานจึงรวมใจกันต่อต้านทุกช่องทาง ทั้งแต่งชุดดำ ทั้งเปลี่ยนสัญลักษณ์ตัวตนบนสื่อออนไลน์ อีกทั้งนั่งประท้วงยามเย็นก็เคยเห็นกันมา แจ้งเป้าหมายเหมือนการร้องเพลงรักษาหน่วยงานที่สำคัญของประเทศชาติเอาไว้ เพราะวิทยาศาสตร์ต้องอยู่คู่เมืองไทยไปตลอดกาลอีกครั้ง ...
“สาบานว่าไม่เสียใจ เสียใครไม่เท่าเสียเธอ
จะยอมให้ใครมาทำร้ายเธอเป็นไปได้ไง แม้ตายก็ต้องยอม”
ผิดคาด ! รอบยุบควบกระทรวงนี้ไม่มีประท้วงอีก คำถามจากสังคมจึงย้อนกลับไปที่ การลุกขึ้น “สู้” ก่อนหน้าว่าจริงแล้วเพื่ออะไรหนอ การหายไปของตัวกระทรวงเดี่ยวมิได้สำคัญเท่าการหายของงบประมาณอย่างนั้นหรือ ?
และที่ยิ่งรู้สึกแปลกกว่านั้นในขณะเดียวกัน กลับเกิดภาพและคำถามที่คู่ขนานตามมาด้วย เพราะภาวะสังคมปกติการสื่อสารวิทยาศาสตร์มักมากับภาพลักษณ์งานแถลงของอดีตบุคคลากรวิทย์แถวหน้ามากครั้งถี่บ่อยจนถึงขั้นแปลกมาก และลามเป็นกระแสวัฒนธรรมไปสู่คนแถวหน้ารุ่นใหม่ต่อด้วย ทั้งการสถาปนาคำสรรเสริญตนเอง “อายุน้อยที่สุด” “รายแรกของประเทศ” “เพื่อประเทศชาติและสังคม” แต่กลับกัน ยามใดสังคมวิกฤตใหญ่หรือกรณีวิทย์เทียมย่อย เวทีใดฤาที่จะได้พบกับอดีตปรมาจารย์อายุน้อยที่สุดเข้าช่วยเหลือแก้ไขให้สังคมและเป็นคนแรกสุดของประเทศ แปลกใจจังที่แนวทางหลังนี้ไม่ใคร่ ไม่ปรากฏ แม้จะตรงสาขาความถนัดที่เคยงัดคำสรรเสริญเข้มข้นให้ตนเองมาก่อน
“สู้เพื่อกระทรวงวิทย์ หรือ Fight For Min. of Science” นั้นหายไป และ
“สู้วิทย์เทียมเพื่อสังคมไทย Anti-Pseudoscience for Thai People” ก็ยังไม่มา
Q: “แล้วจะทำอะไรได้ กระทรวงก็ควบรวมไป ใครที่สรรเสริญตนเองก็หายไปแล้ว”
A: “คงได้แค่บันทึก ศึกษาประวัติศาสตร์เพื่ออนาคตที่จะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำไง”
(ตัวอย่าง บทที่ ๘ “ไก่จ๋า”)
จะว่าไปแล้ว มุกเหรียญมีสองด้านที่คุยกันนั้นก็เหมาะกับการลองเอามาใช้ส่องดู “หน่วยนับกับคำสรรเสริญ” ที่กำลังนิยมในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยได้เหมือนกันนะ เผื่อจะได้ข่าวสารมากขึ้นด้านที่ไม่ใคร่ได้เห็นกัน
ด้านแรกกับวัฒนธรรมการเร่งสร้างจำนวนหน่วยนับผลงานประสานกับการสถาปนาคุณภาพจำนวนผลเหล่านั้นด้วยคำยกตนหรือตั้งรางวัลสรรเสริญกันเองที่ดูพิกล ๆ ทั้งเป็นผลงานเร็วที่สุด คนแรกสุด ผู้เกี่ยวข้องอายุน้อยที่สุด แม้สังคมไม่เข้าใจไม่ได้ประโยชน์ร่วมด้วยแต่พยายามหันเหรียญด้านนี้ให้รับทราบโดยแพร่หลายไปทั่ว เป็นด้านที่พบบุคคลและหน่วยงานวิทยาศาสตร์ภาครัฐนิยมประชาสัมพันธ์ซ้ำ ๆ ถี่ ๆ นานหลาย ๆ ปี จากรุ่นสู่รุ่น
กลับกัน เมื่อพลิกอีกด้านหนึ่งกรณีข่าววิทยาศาสตร์ปลอมข่าวลวงคือตัวอย่าง เมื่อถึงวันเวลาที่สังคมประสบปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทียมที่เกี่ยวข้องกับด้านที่เคยรับรางวัลและสร้างคำสรรเสริญไป หากมีการแก้ไขด้วยแนวทางเดียวกันบ้างทั้งจำนวนครั้งมากมายที่ออกช่วยสังคม และได้คุณภาพแบบที่เร็วสุด คนแรกสุด อายุน้อยที่สุด และที่สุดของที่สุดบ้างคงจะดีไม่น้อย (เช่นกรณีต่อ ๆ มากับ กล้องส่องผี เครื่องขโมยความฝัน เครื่องตรวจสุขภาพลวงควอนตัม รถยนต์หรูเฟอร์รารี่ความเร็วลดลงจาก ๑๗๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมงแบบน่าสงสัย) ... เงียบสนิท ! ไม่เป็นที่นิยม ไม่ว่าจะระดับไหนหน่วยงานใดที่จะร่วมแข่งขันกันโชว์เหรียญด้านนี้ แม้ว่าเป็นสาขาอาชีพตนเองตรงเป๊ะ ช่างต่างจากด้านการแถลงสร้างภาพลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง
(ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕)
สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023) #รหัสเทอร์โบ
๒) หลากเหตุการณ์ร่วมสมัยโทรคมนาคมไทยร้อยสี่สิบเจ็ดปี (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๕๖๕) #โทรคมนาคมไทย
๓) เสี้ยวอดีตสี่สิบปีวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๖๒) #MOST #กระทรวงวิทย์
โครงการโดย
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่จะมาถึง โดยจะเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯจะได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (soft power) ต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
Comments