top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

(Book review) | บุญรักษา สุนทรธรรม | “ปัญญาอลวน” | 30th Anniversary - Turbo Codes | คำนิยม 2023

การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นการศึกษาระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยีต่างซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ในยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นอกจากการรับส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วแล้ว ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลสะอาดไม่ถูกรบกวน รวมทั้งต้องปลอดภัยจากการโจมตีหรือถูกดักฟังข้อมูลในระหว่างขั้นตอนการรับส่งข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อผมได้รับต้นฉบับหนังสือ “ปัญญาอลวน” ส่งมาจากสาขาไฟฟ้าสื่อสาร สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทยเมื่อราวเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ มีความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะมีสาระที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่น่าสนใจในมุมมองของผู้ที่มีแรงบันดาลใจและประสบการณ์ในด้านนี้ ซึ่งผมได้มีโอกาสได้อ่านบันทึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมของสมาคมฯ หลายฉบับแล้ว เมื่อได้อ่านต้นฉบับหนังสือเล่มนี้แล้ว รู้สึกไม่ผิดหวังเลยที่ได้เห็นบันทึกประวัติสารคดีใกล้ตัวของวงการวิทยาศาสตร์ไทยที่พรรณาได้อย่างสนุกสนาน เข้าใจง่ายทางเกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมย้อนยุค ตั้งแต่ยุคแอนะล็อกของวิทยุ โทรศัพท์และจานสื่อสารดาวเทียมจนก้าวมาสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน


ผู้เขียนสามารถบรรยายบรรยากาศในสถาบันการศึกษาและบริเวณโดยรอบให้ผู้อ่านจินตนาการตามได้อย่างเพลิดเพลินและสื่อเรื่องราวทางวิชาการด้านโทรคมนาคมขั้นสูงได้อย่างเข้าใจง่ายและวางเนื้อเรื่องได้อย่างแนบเนียนกับวิถีชีวิตของนักวิชาการที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นธรรมชาติและเรียบง่ายคนหนึ่งแต่เปี่ยมไปด้วยผลงานและภูมิปัญญาอันลึกล้ำในเชิงวิชาการ


ผู้เขียนยังอธิบายเรื่องราวทางเทคนิคต่างๆให้เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ชวนติดตาม อธิบายในเชิงเปรียบเทียบกับความเป็นไปในยุคสมัยต่างๆได้อย่างน่าสนใจ ผู้เขียนมีพื้นความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคมตลอดจนภาพยนตร์ นิยายและเพลงในยุคต่างๆ ที่สามารถนำมาร้อยเรียงกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและไม่เบื่อที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้


สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ให้ความสำคัญในเรื่อง “รหัสเทอร์โบ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่นักวิจัยของไทย คือ รศ.ดร.ปัญญา ฐิติมัชฌิมา อาจารย์ภาควิชาโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นผู้บุกเบิก เป็นงานค้นคว้าวิจัยที่มีคุณูปการต่อมาตรฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในโลกดิจิตอลในปัจจุบัน นำรหัสเทอร์โบนี้มาแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในสัญญาณสื่อสาร ทำให้ข้อมูลสื่อสารมีความถูกต้อง การเข้ารหัส การถอดรหัสมีความถูกต้องสูง ไม่มีข้อผิดพลาด หรือหากเกิดมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนการสื่อสาร รหัสเทอร์โบก็จะสามารถแก้ไขความผิดพลาดได้เอง


การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมนั้น ผู้พัฒนาต้องประสบปัญหาอุปสรรคมากมายที่จะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ พร้อมด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจังจากหน่วยงานต่างๆ วางแนวทางและสร้างกำลังใจให้นักวิชาการได้กลั่นพลังสมองและสติปัญญาให้การดำเนินงานบรรลุมรรคผลได้ จนในที่สุดผลงานของ ดร.ปัญญา ฐิติมัชฌิมา ก็ได้รับการยอมรับ ท่านได้รับรางวัลเกียรติยศยกย่องเชิดชูเกียรติจากองค์กรระดับประเทศและนานาชาติอันเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงของวงการวิทยาศาสตร์ไทย

รหัสเทอร์โบถือว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่คนไทยสร้างสรรค์ขึ้นมา แม้อาจเป็นผลงานชิ้นเล็กมากเมื่อคำนึงถึงระบบโทรคมนาคมที่ซับซ้อน แต่รหัสเทอร์โบเป็นบันไดสำคัญขั้นหนึ่งที่จะทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้มีส่วนสำคัญในการเปิดมุมมองสำคัญที่อาจยกระดับขีดความสามารถเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม จากปัญญาและความสามารถของคนไทยที่ทุ่มเทให้กับงานวิจัยด้านนี้ ภารกิจในการสืบทอดเจตนารมณ์ของคนในรุ่นต่อไปที่ยึดถือแนวทางและสานต่อยอดความุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมของประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน


รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม

นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย และ

ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน

๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023)

๒) หลากเหตุการณ์ร่วมสมัยโทรคมนาคมไทยร้อยสี่สิบเจ็ดปี (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๕๖๕)

๓) เสี้ยวอดีตสี่สิบปีวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๖๒)

๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง)


 

"กิจกรรมสามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes)"

สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗​ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)

ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่


IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย

53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130


คำนิยม


Comments