top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนK Sripimanwat

Policy : “สามเหลี่ยมภูเขา” - วิจารณ์ พานิช

(revised & republished from FB Aug 17, 2016)



ทุกครั้งที่มีโอกาสได้รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ผ่านโลกมามากและนาน จะเสมือนการได้ย่นย่อเวลาให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสรรพสิ่งหัวข้อได้จากการสนทนา และอีกครั้งเมื่อเวลาอันมีค่าของปรมาจารย์การจัดการความรู้ไทย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เอื้ออำนวย คำปรึกษาภารกิจเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังห่างไกลนักกับ“ไอทีควอนตัมไทย” จึงได้มาเพ่งสีหน้ามองแววตาและสดับเสียงของที่ปรึกษาอีกครั้ง


เริ่มที่เรื่องนโยบายระดับประเทศ หากจะผลักดันวาระใดก็ควรต้องมียุทธศาสตร์ มีแผนกลยุทธ์ มีการอุดรอยรั่วของความคิด มีการเชื่อมโยงผูกติด มีบูรณาการ มีบริบทเบาะ ๆ บ้าน ๆ มีบริการความรู้ มีการประเมินความเสี่ยง แล้วก็มีทางเลี่ยงวาจาว่า “ใคร ๆ เขาก็ทำกัน” จนถึงมีทางหนีทีไล่ รวมทั้งมี KPI และมีอะไร ๆ ที่เอาแบบจากฝรั่งมานั่งทำตามกันอยู่นี้ในเมืองไทย ซึ่งทำกันมาพักใหญ่ได้ตัวเลขสวยแทนงานมานานแล้ว จะไปอย่างไรต่อดี มาเริ่มค้นหากับอดีตนายกสภามหาวิทยาลัย อดีต ผอ.สกว.และอีกสารพันความเชี่ยวชาญด้านนโยบาย ดังนี้



“ภาพใหญ่ที่อาจารย์เคยบอกว่าเกาหลีมีแผนพัฒนา มีภาพการพัฒนาให้เป็นประเทศในโลกที่พัฒนา” … “แล้วแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยนั้น ใช่อย่างเดียวกันไหม ? (ประเทศไทยมีเช่นกัน)” คำถามสั้นแต่ได้คำตอบมาเป็นชุดมุมมองก้อนใหญ่ คือ


“อยู่ที่จิ๊กซอร์ต่าง ๆ เกาหลีคิดจิ๊กซอร์ภาพใหญ่ได้ บ้านเราไม่มี มีแต่ segmentไปดูสิว่าทำได้แค่ไหน” “มันเป็นกระดาษ” “ผมก็เคยไปเป็นกรรมการกับเขาด้วย มีแต่ว่าเสร็จแล้วไม่ได้ implement (ปฏิบัติ) ประเทศไทยมาตายตอน Implementation เรามี national master plan (แผนงานระดับชาติ) แต่ไม่ค่อย implement ... ที่จริงเราก็ดีขึ้นเยอะถูกไหม เราก็ดีขึ้นเยอะถ้าเทียบกับ 50 ปีก่อนตอนผมเด็ก ๆ แต่ …”


(เมืองไทยมีแผนเหมือนแบบฝรั่งแต่ก็ยังสร้างผลจริงไม่ได้)

แต่ … การที่ดีขึ้นเยอะ อันที่หนึ่งคือ ป่าหมด อันที่สอง pollution (มลพิษ) รถติด สมัยผมเรียนจะไปสีลมเดี๋ยวเดียวนั่งรถเมล์บุญผ่องไป (ชื่อผู้ให้บริหาร) สาย 17 แปล๊บเดียวไปถึงสีลม ถนนมีสองเลนเท่านั้นเอง ผมพักกับอาแถวเจริญผลถนนพระราม 1 หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ถนนสองเลนซ้ายขวา พอเข้าถนนสีลมนะข้างหนึ่งก็เป็นคู ทุกอย่างเร็ว ไปบ้านเพื่อนเจริญกรุงเดี๋ยวเดียวไม่นาน เพื่อนเรียนเตรียมอุดมด้วยกัน (รถเมล์)บุญช่วยมาสนามหลวงก็เดี๋ยวเดียว แต่เดี๋ยวนี้ช้ากว่าเยอะ เราเจริญขึ้นแต่ว่าชีวิตยากลำบากขึ้น แต่ว่าที่ร้ายที่สุดคือว่า คนจนดูเหมือนความเป็นอยู่ดีขึ้นแต่ถ้าไปดูในสลัมชีวิตเขายังยากลำบากมากเลย”


สังเกตได้ว่า แม้จะเริ่มด้วยคำถามระดับนโยบาย ที่ปรึกษามักจะไปถึงระดับปฏิบัติการ ที่เริ่มสนทนาครั้งใดจะล้อมด้วยข้อมูลรอบทิศที่ต้องปรับเข็มตามให้ทันประมาณนี้เป็นการ “อุ่นเครื่อง” เสมอ ครั้งนี้เริ่มคำถามนโยบายแต่กลายมาเป็นมุมสังคมให้เห็นก่อนเชิงเปรียบเปรย สรุปคือ … “เกาหลีวางแผนแล้วทำ แต่ของบ้านเรามีแผนฯแต่ว่าไม่ได้เอามาใช้(จริง)


เช่นกัน … ทีมงานด้านงานวิจัยนโยบายของประเทศไทยเคยแจ้งทำนองคล้ายกันนี้ เหมือนกับว่าเป็นเสือกระดาษที่ต้องไปหาผู้ใช้ ทำนโยบายออกมาก็ต้องไปขอพ่วงทางนั้นทางนี้ ไม่มีต้องการ เมื่อก่อนทำร่วมอยู่ด้วยกันกับผู้ปฏิบัติก็ตกลงว่าขอแยกออกจากกันไป ซึ่งคิดว่าคงดีกว่า มิเช่นนั้นหน่วยงานเดียวกันจะต้องทั้งทำทั้งคิด (เหนื่อยเกิน) แต่เมื่อมาคิดนโยบายให้แล้ว กลับไม่มีใครอยากนำไปใช้ทำงานเสียอีก … “แล้วจะไปทางไหนดี ?”


มันเป็นอย่างนั้น คือที่จริงคนที่พูดถึงเรื่องนโยบายเสนอมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว คือ อาจารย์หมอประเวศ (วะสี) … อาจารย์ประเวศบอกว่าในการทำนโยบายสังคมไทย approach (แนวทาง) ผิด เพราะคนทำนโยบายหรือทำความรู้วิชาการก็พยายามที่จะเอานโยบายความรู้ทั้งหลายนี้ ไป advocate (สนับสนุน ผลักดัน) กับนักการเมืองผู้มีอำนาจตัดสินใจ decision maker ให้เขารับ” … “แต่ไม่สำเร็จ” !


(ได้ทั้งประวัติศาสตร์หลายทศวรรษ และวิธีการเก่าใหม่ไหลออกมากับข้อแนะนำ)


“อันนี้อาจารย์ประเวศพูดมาเป็น 20 ปีแล้ว สิ่งที่ท่านพูดแล้วเสนอแล้วฝรั่งเอาไปวิพากษ์เยอะเลย ท่านเรียกว่าต้องใช้ พลังสามเหลี่ยมภูเขา ต้องเป็นพลังสามเหลี่ยม ไม่ใช่สองขั้ว” “พลังความรู้ทำนโยบายคือทำความรู้ใช่ไหม แล้วก็ขั้วของผู้บริหารผู้กำหนดนโยบายคือนักการเมือง อันนี้คือพลังอำนาจ สองพลังนี้ พลังอำนาจมันจะไม่ฟังพลังความรู้แต่มันจะฟังพลังประชาชน เพราะว่าพลังสังคมหรือประชาชนมันเลือกตั้งพวกนี้เข้ามา ก็ถือได้ว่าสามเหลี่ยมภูเขา ก็คือเหลี่ยมบน มีพลังปัญญาที่สุดก็คือการทำวิจัย การทำนโยบายทั้งหลายเป็นพลังปัญญา พลังปัญญาพอสร้างคอนเซ็ป สร้างความรู้ สร้างแผนแล้วต้องเอาไป advocate กับชาวบ้าน สื่อสารสาธารณะ ให้ชาวบ้านไปบอกนักการเมืองว่าต้องการแบบนี้ไม่อย่างนั้นจะไม่เลือก เพราะนักการเมืองจะไม่กลัวนักวิชาการ นักวิชาการไม่มีน้ำยาสำหรับนักการเมือง แต่เขาจะกลัวพลังประชาชน ถ้าประชาชนไม่เลือก เขาก็จะไม่ได้เข้ามาในสภาและเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะฉะนั้นต้องเล่นสามเหลี่ยมและวิชาการต้องไปสู่ประชาชน ทีนี้ก็แล้วแต่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ”


ขอสรุปทวนให้ตรวจสอบความเข้าใจว่า คนที่อยู่ในงานงานวิจัยนโยบายทั้งหลายก็คือ “ต้องไปสื่อสารสาธารณะ” ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเสือกระดาษต่อไปถูกต้องหรือไม่ ?


แน่นอน ต้องสื่อสารกับนักการเมืองและนักนโยบายด้วย แต่ว่าพร้อม ๆ กันก็ต้องสื่อสารสาธารณะด้วย ทีนี้มันก็จะมีอย่างนี้คือ พอหน่วยนโยบายถ้าเป็น ข้าราชการ จะไป advocate กับชาวบ้านมาก ๆ ก็ไม่ได้เพราะเป็นข้าราชการ” !

ตลอดการสนทนาได้รับสรุปแถมท้ายสภาวะของ “หน่วยงานนโยบาย” มาด้วยว่า ดีขึ้นแล้ว พ.ศ.นี้ สมัยก่อนสถานะแย่กว่านี้เมื่อครั้งติดกับระบบราชการ งานนโยบายควรเป็นหน่วยงานอิสระเป็นแผนของประเทศ แต่ผู้บริหาร(ในอดีต) หวงอำนาจ “ไม่ยอม” ที่จะให้มีให้เป็น … ช่วงเวลานี้สามเหลี่ยมภูเขานั้นจึงมีโอกาสดีขึ้นแล้ว


- จบ


Comments


FEATURED POSTS