top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg

เตือนใจควอนตัมไทย ๑ | Superconductivity Scandal 2024 | ตัวนำยวดยิ่งยังพลาดอย่างยิ่งยวด ! | academic dishonesty | ตรวจสอบย้อนหลังวิจัยฉ้อฉล | Retraction in Academic Publishing |



"เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง" - - - ตัวอย่างสะกิดทักวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย โดยเฉพาะวงการ "ควอนตัม" ด้วยปรากฏการณ์ตัวนำยวดยิ่ง (superconductor) แรกเริ่มเดิมทีรู้จักกันทั่วโลกเมื่อสาขานี้ได้รับรางวัลโนเบลปีค.ศ. 1987 (J. Georg Bednorz and K. Alexander Müller -- “for their important break-through in the discovery of superconductivity in ceramic materials”) เป็นข่าวโด่งดัง งานวิจัยสุดปังตามกระแสจึงแห่ทัวร์มาหัวข้อตัวนำไฟฟ้านี้อย่างมากมาย นักวิจัยเมืองไทยได้รับรางวัลใหญ่ระดับประเทศด้วยในเวลาใกล้เคียงกัน กระนั้นผ่านมาร่วมสี่สิบปีเทคโนโลยีนี้คงอยู่ในระบบปฏิบัติการอุณหภูมิเย็นจัด นำตัวออกมาใช้ให้ดังอย่างยิ่งยวดทั่วไปยังไม่ได้


ณ วันนี้ตัวนำที่ว่านั้นระดับอุณหภูมิห้องยังไม่มีสินค้าที่เคยหวังสูงกันว่า สายนำสัญญาณไม่หลงเหลือความต้านทาน ไม่สูญเสียสัญญาณ ไม่เกิดความร้อน ลดสารพัดต้นทุน เพิ่มสารพันกำไร อุตสาหกรรมมากมายจะถือกำเนิด ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์จะดีขึ้นมากจากสารพันผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างตามมา ฯลฯ ทว่า กลับคงพบเพียงคำคุยโตของนักวิจัย "breakthrough" "groundbreaking" "one step closer" โอ่ว่าค้นพบอะไรที่ใหม่กว่า ดีกว่า อีกแล้ว และอีกแล้วมาตลอดเกือบสี่ทศวรรษ เป็นบรรยากาศน่ายินดีเพียงในวงการวิจัยเท่านั้น นอกจากนั้นหลายผลงานวิจัยดังยังตรวจพบภายหลังว่า "ลวงโลก" เข้าให้อีก อะไรกันนี่ ?


จากเรื่องฉาวล่าสุด (ภาพ - ๘ มีนาคม ๒๕๖๗) ที่มหาวิทยาลัยดัง (U of Rochester) สหรัฐฯ ข่าวนี้เทียบเคียงได้ระดับน้อง ๆ ของกรณีวิชาการฉ้อฉลใหญ่สุดเท่าที่เคยมีมาของโลกวิชาการ (ฟิสิกส์) "Jan Hendrik Schön" ซึ่งเขาผู้นั้นคือช่างแอร์ ผู้ก่อนหน้าคือนักฟิสิกส์เยอรมันยุคก่อนค.ศ. 2000 ผู้โด่งดังสุด ๆ ตั้งแต่ผลงานปริญญาเอก เช่น ทรานซิสเตอร์โมเลกุลเดี่ยว ฯลฯ ร่ำลือกันว่าอยู่บนเส้นทางไปสู่รางวัลใหญ่ของโลกตั้งแต่เยาว์วัย ถูกเชื้อเชิญไปทำวิจัยหลังจบการศึกษา (postdoc) ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยบริษัทใหญ่ที่นิวเจอร์ซีสหรัฐฯ โดยยังคงนั่งเทียน (fabrication) และแต่งเติม (falsification) ผลงานวิจัยจำนวนมากไม่มีใครจับได้อย่างเนิ่นนาน แต่ในที่สุดหนีไม่พ้นการ “สะดุดขาตนเอง” เมื่อมีผู้อ่านผลงานตั้งคำถามไปยังบรรณาธิการว่าเหตุใดกราฟของสองภาพที่อุณภูมิต่างกันยิ่งกลับแสดงผลออกมาเหมือนกัน พลันที่ตอบกลับสำนักพิมพ์ไปแบบเล็ก ๆ แต่ได้สร้างแผลใหญ่ให้วงการฟิสิกส์ในเวลาต่อมาว่า


“อ๋อ ส่งภาพผิด !” ... ชีวิตเปลี่ยน


งานวิชาการที่ผ่านมาจึงถูกตรวจสอบหมด เส้นทางสู่สวรรค์จึงยูเทิร์นกลับทิศและดิ่งเหว ผลการตรวจสอบย้อนหลัง (retract) ยืนยันจึงโดนปลดและถอนทั้งผลงานแถวหน้าของโลกสิบกว่าชิ้นจนถึงวุฒิปริญญาเอก มหาวิทยาลัย ณ เยอรมนีที่จบมาถึงกับเอ่ยว่าเป็นกรณีฉาวโฉ่สุด ๆ ในรอบห้าสิบปี กระทั่ง มาถึงวันนี้ มีผู้เลียนแบบเส้นทางลวงโลกรุ่นพี่ (ฟิสิกส์) เข้าให้ (อีก) แล้ว !



๐ สรุป กรณี “ตัวนำยวดยิ่งฉ้อฉล 2024” ๐

2020 - A discovery of room-temperature superconductivity is published in Nature by Ranga Dias 2023 - The second RT superconductor is reported by Dias in Nature 2024 - The first paper is retracted. Then the second. No one could replicate his results. The fourth investigation by external experts showed that ‘he concealed information from his students, manipulated them and shut them out of key steps in the research process’.

งานวิจัยตัวนำยวดยิ่งของดีมีจริง ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่สี่สิบปีหลังจากไปถึงรางวัลโนเบลยังคงไปไม่ถึงเป้าหมายการใช้งานอุณหภูมิปกติได้ทั่วไป กระนั้น ยังมาพร้อมการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่คลุมเครือ โดยงานวิจัยส่วนน้อยของสาขาตัวนำยวดยิ่งกลับอิงการนั่งเทียนอย่างยิ่งยวด !


นอกจากตัวอย่างวิทย์เทียมด้านตัวนำไฟฟ้าล่าสุดและของ "Jan Hendrik Schön" สองทศวรรษก่อนเหล่านั้น วงการวิจัยได้ให้กำเนิดญาติเชื้อสายใกล้เคียงกันด้วยอีกมากมาย และหลายกรณีของ “ควอนตัมเทียม” ก็พบว่ามาแนวเดียวกันนั้นเช่นกัน


“คุยโอ่ (hype) เป็นผู้นำ ตามแก้ตัวภายหลัง พังด้วยควอนตัมปลอม !” 


สามสิบปีไอทีควอนตัม (quantum information technology) ทั้งนั่งเทียนจนสะดุดขาตนเอง แก้ตัวไม่ทัน สร้างงานแย้งของเก่าตน สื่อสารวิทยาศาสตร์คลุมเครือ ประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเร้น กระทั่งทยอยถูกตั้งข้อสังเกตอย่างหนักหน่วงในเวลาต่อมา


 

 

๐ บทเรียนสอนใจวงการควอนตัมไทย ๐


คำถาม ?:

เพราะอะไรกรณีควอนตัมเทียมในเมืองไทยยังรอด ?


คำตอบ:

กรณีของต่างประเทศที่ถูกตรวจย้อนหลัง (retract) นั้น เนื่องจากโด่งดังจัด ๆ ตีพิมพ์แถวหน้า เช่น Nature, Physical Review, Sciecne และอื่น ๆ ยิ่งดังโด่งยามดิ่งจึงร่วงแรงเป็นข่าวใหญ่ 


ส่วนควอนตัมนั่งเทียนมากมายจากเมืองไทยนั้น ตีพิมพ์หลบหลีกวารสารนอกวงการ ค่าดัชนี (Impact factor) หากมีแต่เล็กน้อย (เช่น ควอนตัมแสงขึ้นมือถือจินตนาการ มีผลการทดลองแต่ไม่มีอุปกรณ์ เล่นกับอนุภาคความเร็วแสงแบบสมมติ ทั้งโฟตอนเดี่ยวและคู่โฟตอนพัวพันความเร็วแสงไม่พบอุปกรณ์ตรวจจับความเร็วสูง ฯลฯ) และหลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยงการให้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดลอง และแม้หนึ่งในเจ้าสำนักนั่งเทียนไทยเครือข่ายนั้นถูกอัปเปหินานแล้ว แต่ถูกตัดสินความผิดด้วยเหตุ “เบิกซ้ำซ้อน” หาใช่ถูกตรวจย้อนหลังจากผลของการนั่งเทียน !



ผลกระทบระยะยาวสอดประสานกับการประจานโดย Nature (2023) ประเทศไทยกลายเป็นอันดับสองรองจากซาอุดิอาระเบียที่อัตราเร่งผลผลิตวิชาการพุ่งแรงสุด ๆ อย่างเด่นชัด (Saudi Arabia and Thailand saw the sharpest uptick in the number of such scientists over the past few years) แรงกระทั่งผลรวมแซงหน้ารัสเซียหนึ่งในมหาอำนาจของโลกไปแล้ว !


สอดคล้องกับปัญหาซื้อผลงาน #authorship ที่ขึ้นหน้าหนึ่งเมืองไทยตลอดปีพ.ศ.๒๕๖๖ โดยควอนตัมนั่งเทียนแม้จำนวนน้อยแต่ก็คือส่วนหนึ่งบนเส้นกราฟสะสมตั้งแต่ยุคต้น 2000s เป็นต้นมา


ขณะที่ ซาอุฯ ปากีฯ รัสเซียและจีนอยู่แถวหน้าถูกตามตรวจสอบย้อนหลัง (retract) ของปีค.ศ.2023 รวมหมดทั้งโลกแล้วนับหมื่นรายทุบสถิติ ตามมาด้วยการประกาศของจีนครั้งแรกทำการตรวจสอบย้อนหลังเสมือนวาระแห่งชาติต้นปี ค.ศ.2024 (Nature) เอาจริงกับการปรับปรุงวิถีวิชาการแปลกปลอม ส่วนเมืองไทยผู้มีชื่อติดทำเนียบมุมมืดนี้ มุ่งสืบหากับด้านการซื้อผลงาน (authorship) เป็นหลัก [ อิศรา]

 

ประสบการณ์โครงการวิจัยขนาดใหญ่ (ร่วมสมัย) ของเมืองไทย (เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า): ตัวนำยวดยิ่ง (1980s) นิวเคลียร์ (1980s) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (1990s - มากกว่าพันล้าน) ฮอโลแกรม (1990s - มากกว่าร้อยล้าน) ฮาร์ดดิสก์ (2000s - มากกว่าพันล้าน) 3G (2000s - 50 ล้าน) UAV - อากาศยานไร้คนขับ (2000s - 100 ล้าน) นาโนเทคโนโลยี (2000s - มากกว่าพันล้าน) ดิจิทัลทีวี (2010s) เทคโนโลยีควอนตัม (2010s - 200 ล้าน ++) ไปดวงจันทร์ (2020s ++) 5G Use Cases (2020s) และกลับมาไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ชิป) 2024 ++

 

๐ สะกิดนโยบายวิทย์ไทย ๐

 

"หากตรวจสอบย้อนหลัง วิทย์ไทยอาจปัง ไม่พังเพราะวิทยาศาสตร์ทียมหรือเกินจริง (hype)" ผลข้างเคียงจึงเกิดเมื่อมิได้มีการตรวจสอบสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง อาทิ


๑) ศิษยานุศิษย์สองสำนักนั่งเทียนอื้อฉาวกระจายไปเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ทั่วประเทศนานมากแล้ว [ ปัญญาอลวน ]

๒) นโยบายวิทย์วิถีดั้งเดิม (classical) พลาดตามกระแสโลกไม่ทัน ทยอยดัน #DigitalFootprint ออกมาให้คนรุ่นหลังในอนาคตตามแก้ [ รายงานวิทย์ไทยแห่งสองทศวรรษ ] และ

๓) เชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลง จึงขยายผลแจงวิชาการเกินจริงขายข่าวโฆษณาออกไปอย่างกว้างขวาง [ วิทยาศาสตร์เทียมเทคโนโลยีลวง ๒๕๖๕ ] เป็นต้น


“สำนักวิจัยได้งบ สำนักข่าวได้ค่าโฆษณา นโยบายวิทย์ได้จ่ายงาน แต่สังคมไทยอาจได้เพียง ‘อากาศ’”


ต่อเนื่องมาถึงการหลงใหลเพียงข่าวความขลังควอนตัม ตัวบุคคล และรางวัลโนเบล โดยมิได้ตรวจต้นทางข่าวที่ผ่านมา สิ่งซ้อนเร้นและประวัติที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นบทเรียนดั่งหลายโครงการวิจัยขนาดใหญ่ของไทยในอดีตอีกครั้งที่ใช้ทรัพยากรไปมากกลับได้ผลชัดเจนที่ -- ภาพลักษณ์ !


(revised: March 21, 2024 - ทศวรรษ 5G use cases & การตรวจสอบสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง : March 24, 2024 - ฮอโลแกรม นาโนเทคโนโลยี)

 

"เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง"

| ภาค ๕) จดหมายเหตุ ๕๐ ปีควอนตัมไทย | ภาค ๖) 'ธรรมาภิบาล'

 

กาลามสูตร 'พิสูจน์ด้วยตนเอง'

  • Facebook page
bottom of page