top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนIEEE ComSoc TH - admin

Proposal & Updated Activities: 150th Anniversary - Thai Telecommunications 2025| รายละเอียดโครงการ ๑๕๐ ปีโทรคมนาคมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘ |

โครงการจัดทำจดหมายเหตุประวัติศาสตร์
นิทรรศการ กิจกรรมเสวนา และการสร้างเครือข่าย
๑๕๐ ปีโทรคมนาคมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘

-- สังคมไทยจากยุคโทรเลข เอไอ สู่ไอซีทีควอนตัมอนาคต 


The Sesquicentennial of Thai Telecommunications

— from telegraphy, AI, to quantum ICT era


โดย (by)


สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE Communications Society - Thailand chapter) 

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section)


ร่วมกับ (in cooperated with)


ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ (Dept of Phys & Mats)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Fac. of Sc., CMU)


(เวปหลักโครงการ - Main Web)

 

— from telegraphy, AI, to quantum ICT era

 

เกริ่นนำ


นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๔๑๘ ด้วยโทรเลขสายแรกเส้นทาง ‘ปากน้ำ - บางกอก’ การสื่อสารโทรคมนาคมได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยมากว่าศตวรรษครึ่งแล้ว การครบรอบ 150 ปีของวิทยาการนี้ใน พ.ศ.๒๕๖๘ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการระลึกถึงและยกย่องมรดกทางประวัติศาสตร์พร้อมกับการสรรเสริญเทคโนโลยีและผู้เกี่ยวข้องที่สร้างคุณประโยชน์และมีบทบาทสำคัญในการทำให้สังคมของประเทศไทยเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ


ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ใช้ในโครงการนี้ทยอยสะสมมาตลอดช่วงสองทศวรรษนับตั้งแต่โครงการแรกของสมาคมฯจาก “IEEE Virtual Museum 2006” ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องจากหนังสือแปลฉบับฉลองครบรอบ 50 ปีของ IEEE ComSoc (2002) เรื่อง “A Brief History of Communications (ประวัติย่อการสื่อสารโลก)” แล้วก่อก่อร่างสร้างเป็น ‘โครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทย’ กับกิจกรรมระดับประเทศและนานาชาติ โดยโครงการหลักประกอบด้วย “สารานุกรมโทรคมนาคมไทย (2009)” “อภิธานศัพท์โทรคมนาคมไทย (2010)” “หนังสือภาพจดหมายเหตุโทรคมนาคมโลกและประเทศไทย (2011)” และ “จดหมายเหตุแสงและควอนตัม (2019)” ซึ่งจนถึงปัจจุบันสมาคมฯ ได้จัดทำกิจกรรมไปแล้วทั้งหมดกว่ายี่สิบหัวข้อ พร้อมสื่อดิจิทัลอีกหลายรายการ ซึ่งผลผลิตทั้งหมดรวมกว่าสองหมื่นเล่มพร้อมสื่อดิจิทัลและความรู้อื่น ๆ จำนวนมากได้มอบแด่กลุ่มเป้าประสงค์ทั่วประเทศผ่านเครือข่ายของสมาคม ฯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และหน่วยงานอื่น ๆ พร้อมเผยแพร่ออนไลน์สู่สาธารณะหลากหลายแพลตฟอร์ม ประกอบงานสัมมนาและการประชุมวิชาการทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ รวมทั้งร่วมกิจกรรมที่ประกาศโดยองค์การยูเนสโก เช่น ปีแห่งแสงสากล (IYL 2015) และวันสากลแห่งแสงประจำปี (IDL 2018 - 2024) ซึ่งสาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมจัดงาน โดยผลผลิตทั้งหมดข้างต้นได้รับการปรับปรุงรวบรวมจัดแสดงในงานครบรอบ ๑๐ ปี โครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทย (2020)” และล่าสุด “ครบรอบ 30 ปีสาขาไฟฟ้าสื่อสาร” องค์ความรู้ที่มีความพร้อมกอปรประสบการณ์สองทศวรรษต่าง ๆ เหล่านี้นั้น จึงพร้อมแล้วสำหรับพัฒนาต่อยอดสู่กิจกรรมสาธารณะโครงการใหม่ในวาระ 150 ปีโทรคมนาคมไทย


กิจกรรมสำคัญที่จะดำเนินการเพื่อการเฉลิมฉลองและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทยตลอดศตวรรษปีที่ผ่านมาโดยเชื่อมโยงไปสู่ความท้าทายระดับโลกสำหรับอนาคตด้านไอซีทีหรือสารสนเทศสาขาใหม่เชิงควอนตัม (Quantum Information Technology) ของโครงการประกอบไปด้วย การบรรยายออนไลน์ประจำทุกเดือน สัมมนา นิทรรศการ และการเสวนากลุ่มย่อยในช่วงสัปดาห์การสื่อสารแห่งชาติและวิทยาศาสตร์ของเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ อีกทั้งงานเสวนาร่วมสามฝ่าย (การศึกษา อุตสาหกรรม และนโยบาย) ณ งานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี (AGM) ของสมาคมฯ ท้ายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๘ ด้วย กิจกรรมทั้งหมดนี้จะร่วมมือกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์ร่วมจัดการโครงการต่าง ๆ ที่สำเร็จก่อนหน้ามาก่อนแล้ว ทั้งผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม ผู้กำกับดูแลนโยบายของประเทศ และมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเชิงวิชาการต่าง ๆ รวมถึงองค์กรวิชาการและสาธารณะระดับประเทศและนานาชาติ โดยจะเชิญนักประดิษฐ์ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนโยบาย นักวิจัย นักศึกษา และสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด


นอกจากนี้ โครงการนี้จะผลิตสื่อออกมาในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์เทคโนโลยีผ่านความก้าวหน้าด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณะด้วยกับ ‘จดหมายเหตุโทรคมนาคมประเทศไทยในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๘)’ ตลอดจนสื่อสนับสนุนต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์พร้อมการสืบคนด้วยเอไอ ชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ โปสเตอร์และอินโฟกราฟิกสำหรับเผยแพร่บนโลกออนไลน์ เพื่อตระหนักถึงการสร้างความพร้อมด้านองค์ความรู้สาธารณะที่เหมาะสมสำหรับประเทศอย่างแท้จริง ร่วมกับการสร้างทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์และรู้เท่าทันของสังคมไปพร้อมด้วย โดยผลผลิตทั้งหมดของโครงการนี้จะเป็นแหล่งความรู้สาธารณะเพื่อใช้งานและอ้างอิงได้คู่ขนานไปกับการพัฒนาบุคลากร สนองตอบค่านิยม (Core Value) ของโครงการ ๑๕๐ ปีโทรคมนาคมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘ -- จากยุคโทรเลข เอไอ สู่ไอซีทีควอนตัม ได้เป็นอย่างดี

 

๑. หลักการและเหตุผล

ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมของประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ สมัยรัชกาลที่ ๕ กับการสร้างทางสายโทรเลขสายแรกจากกรุงเทพมหานครกับปากน้ำ (หรือจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน) ซึ่งได้มาบรรจบครบรอบหนึ่งร้อยห้าสิบปีใน พ.ศ.๒๕๖๘ นี้ การนำข้อมูลความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง กอปรประวัติวิทยาการและเทคโนโลยีโทรคมนาคมของประเทศไทยและของต่างประเทศที่สัมพันธ์กันในแต่ละยุคสมัยมาจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและการอ้างอิงอย่างมีเอกลักษณ์ เพื่อการศึกษาทำความเข้าใจผลงานเด่นทางประวัติประวัติศาสตร์ของไทยและต่างประเทศนี้ จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อนำไปสู่การพัฒนางานในแขนงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงก่อให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาประเทศในลำดับต่อไปด้วย รวมทั้งองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นแกนกลางประสานความร่วมมือของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมเชื่อมโยงสู่ระดับนโยบายได้เช่นกัน อีกทั้ง การสิ้นสุดอายุขัยหรือถูกทดแทนด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลื่นลูกหลัง อาทิ  บริการโทรคมนาคมแรก “โทรเลข” ได้ปิดตัวยุติให้บริการเมื่อวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๕๑ เป็นระบบสื่อสารที่ให้บริการยาวนานที่สุดถึงหนึ่งร้อยสามสิบสามปี ฯลฯ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคสำคัญในอดีตที่วงการโทรคมนาคมไทยได้ประสบอื่น ๆ ได้ให้กำเนิดบทเรียนจดหมายเหตุสำคัญมากกรณีตลอดช่วงกว่าศตวรรษครึ่งที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้เฉลิมฉลอง รำลึก และยกย่องมรดกทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นพร้อมกับการสรรเสริญทั้งตัวเทคโนโลยีรวมถึงผู้เกี่ยวข้องที่ได้เคยสร้างคุณประโยชน์และมีบทบาทสำคัญระหว่างเส้นทางการพัฒนาในอดีตดังกล่าว โดยขณะเดียวกัน การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านกิจกรรมวิชาการสาธารณะ การสร้างเครือข่ายการสืบค้นและการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทยสู่การคาดการณ์เทคโนโลยีอนาคตของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม สมาคมวิชาชีพวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติและนานาชาติ แล้วต่อยอดบทเรียนของวงการโทรคมนาคมไทยนี้ไปสู่ภาคส่วนสังคมอื่น ๆ ด้วย จะช่วยส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมสู่ยุคการสื่อสารหรือไอซีทียุคหน้ากับการมาถึงของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) และส่งต่อไปยังสารสนเทศเชิงควอนตัม (Quantum Information Technology) ที่มีศักยภาพสูงยิ่ง โดยประสบการณ์ตลอดช่วงสิบห้าทศวรรษที่ผ่านมาเหล่านั้นจะสามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าเพื่อเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนและดีกว่าต่อไปโดยตระหนักถึงการสร้างความพร้อมด้านองค์ความรู้สาธารณะ ทรัพยากรไอซีทีควอนตัมรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับประเทศอย่างแท้จริง ร่วมกับการสร้างทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการรู้เท่าทันของสังคมไปพร้อมด้วย -- ประเทศไทย จากยุคโทรเลข เอไอ สู่ไอซีทีควอนตัม’

 

๒. ความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับกิจกรรมในอดีต


โครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทย (พ.ศ. 2551- 2567) [ 1 ] [ 2 ]

๐ โครงการสาธารณะที่จัดทำแล้วก่อนหน้า (www.ieee-thailand.org

๐ โครงการสารสนเทศอนาคต (www.Q-Thai.Org และ www.LED-SmartCoN.Org) และ

๐ โครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทย (www.ThaiTelecomKM.Org)

 

๓. วัตถุประสงค์


๓.๑   เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมอันเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจัดทำจดหมายเหตุโทรคมนาคมประเทศไทย นิทรรศการ กิจกรรมเสวนา และการสร้างเครือข่าย ในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๘)


๓.๒ เพื่อรวบรวมและจัดการองค์ความรู้และและประวัติความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและสามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิผล เสริมสร้างเอกลักษณ์ของประเทศและความภาคภูมิใจต่อเยาวชนและบุคคลทั่วไปด้วยประวัติศาสตร์สู่แรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนัก และรู้เท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี


๓.๓   เพื่อพัฒนาผลของโครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทยจากความสำเร็จในระยะแรก (พ.ศ. 2551- 2567) บูรณาการต่อยอดสู่ระยะที่สองให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษาค้นคว้า อ้างอิงได้ เป็นมาตรฐาน และทัดเทียมกับของต่างประเทศ ส่งเสริมกิจกรรมวิชาการสาธารณะสร้างเครือข่ายสู่การคาดการณ์เทคโนโลยีจากยุคปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอสู่ไอซีทีควอนตัมแห่งอนาคต


๓.๔ เพื่อใช้องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โทรคมนาคมสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลางเชื่อมโยงสร้างความร่วมมือของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม นโยบายและหน่วยงานอื่น ๆ โดยร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมการต่อยอดชยายผลสู่สังคมแขนงอื่นๆ ต่อไปพร้อมกับการสร้างทักษะรู้เท่าทันของสังคม


คำสำคัญ (keywords); จดหมายเหตุโทรคมนาคมไทย ๑๕๐ ปีโทรคมนาคมไทย องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ เสริมสร้างเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ตระหนักและรู้เท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ไอทีร่วมสมัย เอไอ ไอซีทีควอนตัม


 

๔. ขอบเขตการดำเนินงาน

ดำเนินการจัดทำจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ นิทรรศการ กิจกรรมเสวนา บรรยายพิเศษและการสร้างเครือข่ายในโอกาสโทรคมนาคมไทยครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๘ มีขอบเขตการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้


๔.๑) จัดการความรู้ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทยเพื่อนำไปสู่คลังข้อมูลดิจิทัล (digital archives & virtual platform) เพื่อการสืบค้นในอนาคต บันทึก และแสดงเหตุการณ์สำคัญหรือจดหมายเหตุของวงการโทรคมนาคมไทยกับ “สมุดภาพจดหมายเหตุโทรคมนาคมไทย ๑๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๘” โดยลำดับเหตุการณ์สำคัญโทรคมนาคมไทยช่วงหนึ่งร้อยห้าสิบปีที่ผ่านมา


๔.๒) ดำเนินการเวทีวิชาการประวัติศาสตร์ อุตสาหกรรม และนโยบายโทรคมนาคมไทย “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง” (Learning History for the Better Future) ทั้งกิจกรรมเสวนาและบรรยายพิเศษเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ แบ่งปันข้อมูล สื่อ ฯ ทั้งด้านวิชาการ กิจการโทรคมนาคมของหน่วยงานหรือบริษัทผู้ประกอบการวงการอุตสาหกรรมทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย โดยบันทึก วิเคราะห์ จัดการองค์ความรู้ รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะรูปแบบสื่อออนไลน์เพื่อเป็นบทเรียนสู่อนาคตต่อไป


๔.๓) เพื่อจัดนิทรรศการหนึ่งร้อยห้าสิบปีโทรคมนาคมไทย (sesquicentennial exhibition) ร่วมกันของโครงการประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทย ข้อ ๔.๑) และ ๔.๒) โดยเชิญชวนภาคอุตสาหกรรมรวบรวม บันทึก และจัดแสดงประวัติแบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนในอดีตเผยแพร่ออนไลน์สู่สาธารณะ รวมทั้ง จัดทำนิทรรศการเคลื่อนที่ (mobile exhibition) เว็บไซต์ โปสเตอร์และอินโฟกราฟิกเพื่อจัดกิจกรรมภาคสนามร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ตลอดปี พ.ศ.๒๕๖๘


๔.๔) เพื่อสร้างเครือข่าย (networking - dinner talk) การถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์และแสวงหาแนวทางอนาคตร่วมกันโดยบุคลากรจากภาควิชาการ อุตสาหกรรม นโยบาย และสมาคมวิชาชีพโทรคมนาคมระดับประเทศและนานาชาติ

 

๕. ระยะเวลาดำเนินการ

กำหนดเวลา ๓๖๕ วัน (พ.ศ.๒๕๖๘) 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑) สามารถรวบรวมองค์ความรู้ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทยเป็นคลังข้อมูลการเรียนรู้ของประเทศ และสามารถใช้ผลผลิตของโครงการเป็นเวทีเร่ิมต้นสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยมีประวัติศาสตร์เป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงกับทั้งบุคลากร สมาคมวิชาชีพวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถต่อยอดสู่เวทีเฉพาะทางทั้งทางด้านวิชาการ อุตสาหกรรม นโยบาย และภาคส่วนสังคมอื่น ๆ ด้านโทรคมนาคมต่อไปได้อย่างยั่งยืน


๒) สังคมไทยได้รับทราบพัฒนาการของประเทศจากความรู้ด้านประวัติศาสตร์โทรคมนาคมผ่านจดหมายเหตุหนึ่งร้อยห้าสิบปีเทียบเคียงกับของโลกในรูปแบบสื่อที่ทำความเข้าใจได้สะดวก โดยร่วมเฉลิมฉลอง รำลึก และยกย่องมรดกทางประวัติศาสตร์พร้อมสรรเสริญไปกับเทคโนโลยีรวมถึงผู้เกี่ยวข้องที่ได้เคยสร้างคุณประโยชน์และมีบทบาทสำคัญก่อให้เกิดความภาคภูมิใจสู่แรงบันดาลใจ รวมทั้งได้ตระหนักและรู้เท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจากการ “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง” พร้อมรับกับเทคโนโลยีอื่น ๆ รวมถึงไอซีทีควอนตัมแห่งอนาคต 


 

ตารางกิจกรรม

(updated - Jan 16, 2025)

Events

Details

Remarks

OPENING ceremony: 

January 29, 2025

Speech by Mr.Masanori Kondo, Secretary General (APT: Asia-Pacific Telecommunity)

Keynote Talks (econ, history & humanity)

Distinguished Lectures 

Panel Discussions

History Seminars


@Chiangmai University, Online, and @IEEE Thailand Section AGM

“150th Thai Telecom Milestones”

TBD - Link

Pictorial book

Museum Tours

TBD - Link

Nonthaburi, Pathum Thani & Chiangmai

Oral History & Interviews (.)

TBD - Link


Lectures (ICT, AI & Quantum IT)

TBD - Link


Communications Week & Science Day - The Exhibition & Symposium

August 2025

@Chiangmai University and online

Student Projects & Fairs

TBD - Link

@Chiangmai University and @IEEE Thailand Section AGM

Thai IEEE Mentoring program

TBD - Link

@IEEE Thailand Section AGM

150th Thai Telecom Award

TBD - Link

@IEEE Thailand Section AGM

Dinner Talk (tri-parties)

November 2025

@IEEE Thailand Section AGM

ONLINE CEO's Talks

2nd week - monthly

Remarks

“เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม - Green Telecom”

February

(Inviting)

“อดีต ปัจจุบัน และอนาคตการคุ้มครองและสิทธิผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม”

March

(Invited)

“พัฒนามานุษยวิทยาไทยกับโลกใหม่ไอที”

April

(Invited)

“เหรียญสองด้าน - โอกาสพร้อมภัยคุกคามจากความก้าวหน้าด้านสื่อสารโทรคมนาคม”

May

(Invited)

“ประวัติและพัฒนาการอาชญากรรมจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม”

June

(Invited)

“สตรีกับวงการเทคโนโลยีสื่อสารไอทีไทย: แบ่งปันประสบการณ์”

July

(Invited)

“พัฒนาการโทรคมนาคมกับสังคมไทยในช่วงชีวิตของนักประวัติศาสตร์”

August

(Inviting)

"ความล้มเหลวงานวิจัยโทรคมนาคมไทยในอดีต - ประสบการณ์สู่อนาคต"

September

(Inviting) ECTI-KMUTNB

“USO - Digital Divide: โทรคมนาคมเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำช่องว่างทางสังคม”

October

(Inviting)

“เครือข่ายสังคมเพื่อลดคอร์รัปชันเพิ่มความโปร่งใสอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย พ.ศ.๒๕๖๘”

November

(Invited)

ONLINE Social & Humanity Talks

3rd week - monthly

Remarks

สุขภาพจิตกับเทคโนโลยี - พัฒนาการจากยุคโทรเลขสู่ 5G

February

(Invited)

พื้นฐานการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาท่ามกลางการสื่อสารที่รวดเร็วยิ่ง

March

(Invited)

“Universal Design มาตรฐาน W3C/ WCAG 2.0 -- ไอทีที่เข้าถึงได้จากคนทุกกลุ่ม”

April

(Invited)

“พัฒนาการสังคมและสุขภาพจากการแพทย์ทางไกลและระบบโทรคมนาคม”

May

(Invited)

สื่อสารโทรคมนาคมสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน

June


ผลกระทบจากวัตถุนิยมและสังคมสื่อสารกับจิตตปัญญา

July

(Invited)

“เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกับกิจการผู้สูงอายุ”

August

(Invited)

TBD

September


TBD

October


TBD

November


ONLINE - DIRECTOR's Talks

4th week - monthly

Remarks

“หลักการและพัฒนาการของบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงและเพื่อสังคมไทย”

February

(Invited)

“พื้นฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและกรณีศึกษา”

March

(Invited)

“มาตรฐานโทรคมนาคมที่สังคมไทยควรทราบ พ.ศ.๒๕๖๘”

April

(Invited)

“ภารกิจส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลกันเองของวงการโทรคมนาคมไทย”

May

(Invited)

“หลักพื้นฐานของบริการทั่วถึงและพัฒนาการในประเทศไทย”

June

(Invited)

“รู้จักภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์”

July

(Invited)

“ภารกิจกสทช.ต่อกิจการดาวเทียมสื่อสาร”

August

(Invited)

“หลักการบริหารคลื่นความถี่ที่ควรทราบ”

September

(Invited)

“พื้นฐานด้านกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์”

October

(Invited)

“ประวัติและพัฒนการการกำกับการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์”

November

(Invited)

International Messages/ Talks + IYQ & ThaiYQ2025

Remarks

(Singapore)

ASEAN Perspectives

(Vietnam)

ASEAN Perspectives

(Malaysia)

ASEAN Perspectives

(Indonesia)

ASEAN Perspectives

(Laos)

ASEAN Perspectives

(Cambodia)

ASEAN Perspectives

(The Philipines)

ASEAN Perspectives

EU


Japan


China


 

Partners:

| Gold | Silver | Bronze |


การสนับสนุนจะได้รับการประชาสัมพันธ์ใน

๑) จดหมายเหตุโทรคมนาคมไทย ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๘) ฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์  

๒) เวทีเสวนา “สังคมไทยจากยุคโทรเลข เอไอ สู่ไอซีทีควอนตัมแห่งอนาคต” งานเลี้ยงบรรยาย (dinner talk) และบรรยายพิเศษวิชาการและอุตสาหกรรม (distinguished lectures) 

๓) นิทรรศการหนึ่งร้อยห้าสิบปีโทรคมนาคมไทย (sesquicentennial exhibition) 

๔) จดหมายข่าวรายงานกิจกรรมนานาชาติ (IEEE Global Communications Newsletter)

๕) สื่อเผยแพร่ของ IEEE ComSoc Thailand และรายงานในที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ (IEEE Thailand section annual general meeting)

 

ผู้ดำเนินโครงการ (project members)


1) ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ (หัวหน้าโครงการ - ประธานจัดงาน)

ประธานสาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE communications society) 

และกลุ่มไอทีควอนตัม (IEEE Thailand section quantum information technology group)

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand section) 


2) ผศ.ดร.ชลิต วณิชยานันต์

ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

(อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและหัวหน้าสาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 


3) ดร.มัณฑนา เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการเงินและการคลัง 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


4) รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 


5) ผศ.ดร.วีระ เพ็งจันทร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


6) ผศ.ดร.ฐิตาภรณ์ กนกรัตน ภาควิชาคณิตศาสตร์ 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


7) คุณวิทยา รักษ์พงษ์ 

เหรัญญิก สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand section) 


8) รศ.ดร.สุภาพ ชูพันธ์ (เลขานุการโครงการ)

หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


หน่วยงานหลัก (Organizer)

และภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


หมายเหตุ:

ร่วมเสนอแนะ สนับสนุน ประสานกิจกรรมได้ที่ contact email: thailand_chapter@comsoc.org

 

Alliance:


 

Disclaimer:

#ThaiTelecom150 - a public serving project by volunteers 

no conflict of interest & none of personal agenda involved

 

Welcome volunteers !

Comments